นายอำเภอท่าปลาจับงานวิจัยเขื่อนสิริกิติ์ จากสถาบันการศึกษากว่า 10 สถาบัน ผลวิจัยด้านสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมครอบคลุมพื้นที่ 7 ตำบล 76 หมู่บ้าน หวังบูรณาการด้วยงานวิจัยลงมือปฏิบัติจริงสร้างความกินดีอยู่ดี รองรับด้านการท่องเที่ยวดินแดนแหล่งอารยธรรมล้านนาตะวันออก
นายอำเภอท่าปลาจับงานวิจัยเขื่อนสิริกิติ์ จากสถาบันการศึกษากว่า 10 สถาบัน ผลวิจัยด้านสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมครอบคลุมพื้นที่ 7 ตำบล 76 หมู่บ้าน หวังบูรณาการด้วยงานวิจัยลงมือปฏิบัติจริงสร้างความกินดีอยู่ดี รองรับด้านการท่องเที่ยวดินแดนแหล่งอารยธรรมล้านนาตะวันออก
วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09.09 น. ณ หอประชุมโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 ตำบลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ นายจักรพรรณ สุวรรณภักดี นายอำเภอท่าปลา เป็นประธานเปิดงานวิจัยเขื่อนสิริกิติ์ จากสถาบันการศึกษากว่า 10 สถาบัน ผลวิจัยด้านสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมครอบคลุมพื้นที่ 7 ตำบล 76 หมู่บ้าน หวังบูรณาการด้วยงานวิจัยลงมือปฏิบัติจริงสร้างความกินดีอยู่ดี รองรับด้านการท่องเที่ยวดินแดนแหล่งอารยธรรมล้านนาตะวันออก สำหรับอำเภอท่าปลาคือดินแดนแหล่งอารยธรรมและอดีตดินแดนล้านนาตะวันออกพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภออยู่ในการดูแลของนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน เขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าสงวนแห่งชาติ โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบระหว่างเนินเขาและภูเขา มีอ่างเก็บน้ำเรียกกันติดปากว่าเขื่อนท่าปลา ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาติให้อัญเชิญพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มาขนานนามเขื่อนว่า เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 มาจนปัจจุบัน
อนึ่งผลงานวิจัยหลากหลายหัวข้อจากสถาบันการศึกษากว่า 10 สถาบันโดย การสนับสนุนงบประมาณจากไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนสิริกิติ์ และหน่วยงานในสังกัดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผลงานวิจัยด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมพื้นที่อำเภอท่าปลา โดยงานวิจัยที่ผ่านมาในอดีตมักถูกมองว่าจะเก็บเอาไว้บนหิ้งเสียเปล่า ทว่างานวิจัยชุดนี้เป็นงานวิจัยที่มีคุณกับเภอท่าปลาอย่างมากในอันจะนำมาซึ่งข้อมูลเชิงลึกจากหัวข้องานวิจัยต่างๆมาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเป็นการพัฒนาพื้นที่ สร้างมูลค่าทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึงแนวทางของการเสริมสร้างงานในพื้นที่ด้านการท่องเที่ยวในเร็วๆวัน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนตลาดการค้าการขายผลิตภัณฑ์ของ 7ตำบล 76 หมู่บ้าน ตอบโจทย์การกินดีอยู่ดีของพี่น้องในพื้นที่ต่างๆ นายอำเภอกล่าว
นายบรรจง ศรีสะอาด ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ กล่าวถึงแนวการนำเสนอผลงานวิจัยด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่อำเภอท่าปลา ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนสิริกิติ์ และหน่วยงานในสังกัดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึงปัจจุบัน จำนวนงานวิจัยที่แล้วเสร็จและกำลังจะแล้วเสร็จ มีจำนวน 12 เรื่อง โดยนัยงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชน 1.เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ 2.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมให้มีมาตรฐานสูงขึ้น 3.เพื่อสร้างช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้ชุมชนมีรายได้ 4.เพื่อสร้างช่องทางการตลาดขยายฐานผลิตภัณฑ์แปรรูปให้กว้างขวางมากขึ้น
ดร.ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์ นักวิจัยอาวุโสสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดเผยถึงการเข้ามามีส่วนร่วมกับเขื่อนสิริกิติ์การลงมือทำงานวิจัยศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมชุมชน พื้นที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ การศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างมาตรฐานและความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค การวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำมะม่วงหิมพานต์เพื่อกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหาดไก่ต้อย
ขณะเดียวกันยังมีเพื่อนักวิจัยต่างสถาบัน10กว่าสถาบันที่เข้ามาร่วมกิจกรรมงานวิจัยตัวอย่างเช่น เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย นำเสนอ การศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนบ้านห้วยต้าแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน และการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์กรณี การสร้างถนนริมขอบอ่างเก็บน้ำจากบ้านนางพญาไปสู่ บ้านห้วยต้า อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้นำเสนอการเพาะพันธุ์และเลี้ยงปลาตะโกกแบบผสมผสานในพื้นที่รอบเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อเพิ่มรายได้แบบยั่งยืน หรือมูลนิธิเพื่อวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี นำเสนอ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลเพิ่มโดยใช้วัตถุดิบเหลือทิ้ง จากกระบวนการผลิตเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ของเกษตรกรอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากการไฟฟ้ำฝ่ำยผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนสิริกิติ์ นักวิจัยอาวุโสกล่าวในท้ายที่สุด
นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน