สุราษฎร์ธานี // กระทรวง อว. เดินหน้าส่งเสริม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) (U2T) ชูความสำเร็จการทำงานบูรณาการ ผลักดันนวัตกรรมชุมชน ยกระดับเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
สุราษฎร์ธานี // กระทรวง อว. เดินหน้าส่งเสริม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) (U2T) ชูความสำเร็จการทำงานบูรณาการ ผลักดันนวัตกรรมชุมชน ยกระดับเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน .
รายงาน : พจน์ คำจันทร์
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ที่มหาวิทยาลัยราชุสุราษฎร์ธานี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดินหน้าสานต่อ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) หรือ โครงการ U2T อย่างต่อเนื่อง ตามพันธกิจของกระทรวง อว. ที่มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากลและเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน โดยโครงการ U2T เป็นส่วนเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว อันเป็นโมเดลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งได้ลงใต้ปักหมุดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้คนในชุมชนได้รู้จักโครงการ U2T เป็นวงกว้างผ่านการสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม บูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาสินค้าและบริการให้แก่ประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบการในการเปิดพื้นที่ให้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากคนในชุมชนได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมทำให้การพัฒนาชุมชนสำเร็จและเกิดผลประโยชน์แก่คนในชุมชน เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งเกิดการจ้างงานมากขึ้น
ล่าสุดได้มีการจัดงานแถลงข่าว “โครงการประชาสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กิจกรรมที่1 U2T Show & Share” โดย ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานในงาน โดยมี อาจารย์ ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเครือข่ายสังคมให้การต้อนรับ พร้อมได้มีการแถลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย ผศ.ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และนายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว. ร่วมกล่าวแถลงความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตำบลภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏราษฎร์ธานี ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ของทางอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้อย่างเต็มที่
ด้านดร. ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “เพื่อให้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) เป็นประโยชน์แก่คนในชุมชมตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงต้องมีการ ส่งเสริม ผลักดันและสื่อสารข้อมูลแก่ประชาชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เกิดการเข้าใจเพื่อให้ได้ทราบถึงประโยชน์จากการปรับบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน จากการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างบุคลากรของมหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน และประชาชน ในการแก้ไขปัญหาและความต้องการของชุมชนที่แตกต่างกัน ถือเป็นการพัฒนากำลังคน การวิจัย นวัตกรรม ที่สอดคล้องกับบริบทประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อยกระดับชุมชน จากการได้มาติดตามผลการดำเนินโครงการ U2T เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจของคนในชุมชนที่อยากขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกัน และได้เห็นถึงความสำเร็จจากผลงานที่ได้มาจัดแสดง ที่เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมถึงการทำงานร่วมกันของคนในพื้นที่ พร้อมขอขอบคุณสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงในการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของการปรับบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน ในพื้นที่ให้ประชาชนได้ทราบถึงการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการอย่างเข้มแข็ง”
โครงการ U2T มุ่งแก้ปัญหาและความต้องการของชุมชนให้ตรงจุด เพื่อพัฒนาและสร้างอาชีพใหม่ ทั้งการยกระดับสินค้า OTOP, การสร้างและพัฒนา Creative Economy ให้เป็นการยกระดับการท่องเที่ยว, การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชนด้วยเทคโนโลยีต่างๆ และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม Circular Economy ซึ่งเกิดการเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบอีกหนึ่งแห่งที่ประสบความสำเร็จในโครงการ U2T โดยมีสินค้าและบริการมากมายที่สามารถนำองค์ความรู้จากทางมหาวิทยาลัยไปปรับใช้กับของขึ้นชื่อจังหวัดฯเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านการร่วมมือจากคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอกย้ำถึงความสำเร็จในการปรับบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และชุมชนในพื้นที่ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
โดยได้มี 15 ตำบล นำผลิตภัณฑ์มาร่วมจัดแสดง อาทิ ตะกร้าแก้วสานฝันก้านปาล์ม, ถุงผ้ามัดย้อม, งานไม้โต๊ะ เก้าอี้ ที่มีการพัฒนาให้มีความทันสมัย, กระถางชีวภาพ ผลิตจากเปลือกผลไม้เหลือทิ้ง, จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นทางเลือกในการลดต้นทุนของเกษตรกร, สเปร์และโลชั่นกันยุงสมุนไพร, แชมพูสมุนไพร, กระเป๋าและหมวก, ผัดไทพร้อมปรุง, น้ำผึ้งจิ๋วในขวดแก้ว, ข้าวตังพริกแกง, เห็ดแครงแปรรูป, ปลาเปรี้ยว, กะปิหวาน สูตรเสริมเห็ดแครง, แหนมปลา และ ปลาดุกร้านาใต้
ภายในงานยังมีกิจกรรม Show & Share ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์หรือโฆษณาผลงาน เพื่อ Share ของดีออกไปให้โลกรู้ ด้วยเทคนิคง่ายๆ สามารถดึงดูดความสนใจและเข้าถึงกลุ่มผู้คนได้เป็นอย่างดี จากทีมวิทยากรคุณภาพที่มามอบความรู้ แนวทาง และวิธีการในการสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์หรือโฆษณา ให้แก่กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ U2T ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปพัฒนาต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้การประชาสัมพันธ์ผลงานให้มีความน่าสนใจและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และเพื่อให้การทำงานภายใต้โครงการ U2T มีประสิทธิภาพที่สุด ได้มีการจัดเสวนาติดตามความคืบหน้าโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล โครงการ U2T ซึ่งเป็นการพูดคุย แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละตำบล เพื่อทราบถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขให้ดำเนินงานได้อย่างตรงจุด
ด้าน นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว. กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) หรือ โครงการ U2T ดำเนินการโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีการปรับบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน ในแต่ละตำบลจะมีมหาวิทยาลัยที่จะรับผิดชอบดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อขับเคลื่อนทั้งในภาคการผลิตและบริการ ซึ่งมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมีมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator รวมทั้งมีการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน โดยอีกส่วนสำคัญในการดำเนินโครงการ U2T เพื่อพัฒนากำลังคนเกิดการจ้างงานมากขึ้น โดยในระยะแรกของการดำเนินงานใน 3,000 ตำบลมีการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา ตามความเหมาะสมของแต่ละตำบล รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 60,000 คน โดยหลังจากนี้จะมีแถลงข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ความสำเร็จของโครงการฯ นวัตกรรมต่างๆ ภายใต้การดำเนินงานของโครงการ U2T ปลายเดือนธันวาคม 2565 ที่ จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป .
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
ระวีนันท์ พุทธวิเชียร (ทิพย์ PR) 097 954 9591
เนตรดาว จตุพงษา (เต้ย PR) 090 954 5045