สตูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงเกาะหลีเป๊ะ ร่วมงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 11
สตูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงเกาะหลีเป๊ะ ร่วมงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 11 พบปะ ชาวเล กะเหรี่ยง มานิส่งเสริมวิถีชีวิต สู่การผลักดันกฎหมายและเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล”
ที่เกาะหลีเป๊ะ หมู่ 7 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล กลุ่มชาวเลอูรักลาโว้ย ร่วมต้อนรับนายวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้บริหาร ศมส. พร้อมคณะลงพื้นที่โดยมีดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มนุษย์วิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน ) พร้อมด้วยทางเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสตูล โดยมีนายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลร่วมให้การตอนรับ ที่บริเวณบ้านของนางฉลวย หาญทะเล เพื่อรับฟังปัญหาข้อพิพาทเรื่องที่ดิน ระหว่างชาวเล ที่ตนเองปลูกสร้างอาศัยอยู่และรับฟังเรื่องที่ดินของนายทุน
ทั้งนี้นายวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะเดินทางไปพบพูดคุยกับชาวเลอูรักลาโว้ยที่อยู่บนเกาะหลีเป๊ะ โดยมีนางแสงโสม หาญทะเล เป็นผู้นำของกลุ่มชาวเลบนเกาะแห่งนี้ ได้เดินไปตามบริเวณริมชายหาด พร้อมลงเก็บขยะที่พบฝั่งอยู่ในกองทราย ซึ่งทางรัฐมนตรีว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินไปก็เก็บขยะไปตลอดเส้นทางริมชายหาดบนเกาะหลีเป๊ะ พร้อมกล่าวเพียงสั่นๆว่า ช่วยกันดูแลความสะอาดชายหาดเพื่อให้เป็นพื้นที่สวยงาม ไร้ขยะ และฝากให้ทุกคนมีจิตสำนึกรักษ์ ธรรมชาติด้วยหัวใจ และร่วมกิจกรรมงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 11 “ส่งเสริมวิถีชีวิต สู่การผลักดันกฎหมายและเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล” บริเวณ ชุมชนชาวเลเกาะหลีเป๊ะ ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูลพร้อมกันยังทำการเซ็น Mou โดยมี หลายๆฝ่ายรับรู้ส่วนเรื่องการเซ็น Mou นั่นคือ เรื่องการส่งเสริมคุ้มครองวิถีชีวิตวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์
นายวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สำหรับปัญหาเรื่องของชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะ เป็นปัญหามานานแล้ส การแก้ปัญหาต้องค่อย แก้ไข และมีความเห็นใจพี่น้องชาวเล การดำรงชีพมีความยากลำบาก และมาให้กำลัง โดยทางนายกรัฐมนตรีมีความห่วงใย ทุกกลุ่ม การเดินทางมาในครั้งนี้เป็นการนำความห่วงใย สำหรับการคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ เราต้องพูดกันหลายๆฝ่าย เพราะสิ่งหนึ่งคือวิถีชีวิต วัฒนธรรมคงอยู่ไป การดำรงชีพที่ดีต่อไป ตั่งแต่ผมเข้าดูแลตำแหน่งนี้ โดยผมเองในนโยบายข้าราชการ โดยทางกรมอุทยานฯต้องการทำงานร่วมกัน เพราะสิ่งหนึ่งเราก็เดินหน้าควบคู่การอนุรักษ์ไปกับการพัฒนา การทำงานที่ขับเคลื่อนไปพร้อมกัน และขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล
สำหรับการคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ เราต้องพูดกันหลายๆฝ่าย เพราะสิ่งหนึ่งคือวิถีชีวิต วัฒนธรรมคงอยู่ไป การดำรงชีพที่ดีต่อไป ตั่งแต่ผมเข้าดูแลตำแหน่งนี้ โดยผมเองในนโยบายข้าราชการ โดยทางกรมอุทยานฯต้องการทำงานร่วมกัน เพราะสิ่งหนึ่งเราก็เดินหน้าควบคู่การอนุรักษ์ไปกับการพัฒนา และการเซน Mou การทำงานที่ขับเคลื่อนไปพร้อมกัน ซึ่งการลงนั้นมี พิธีบันทึกความร่วมมือ “ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์”
ด้านดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มนุษย์วิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน ) กล่าวว่า การเซ็น Mou คือความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่ง หลังจากมีมติ ครม.มาเป็นเวลากว่า10ปี รูปธรรมที่ชัดเจนที่สุดในการเคลื่อนไปข้างหน้า คือการจำกัดเขตวัฒนธรรมพิเศษ คือ วิถีชีวิตของชาวบ้าน การประกาศเขตพื้นที่อุทยาน การอณุรักษ์ รวมทั้งนักธุรกิจของผู้ประกอบการ จะต้องหาทางออกร่วมกัน การมี Mou จะทำให้ทุกฝ่ายมาคุยและตกลงกัน โดยข้อตกลงต่างๆ มีระเบียบ มีกฎหมายรองรับให้สามารถทำได้ แต่ความเข้าใจยังไม่ตรงกัน ทำให้เกิดปัญหาในข้อตกลงหัวใจสำคัญในการเซ็น Mou คือการสถาปนาพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ให้ชุมชนสามารถนำประเด็นปัญหาต่างๆมาหาลือร่วมกัน เพื่อที่จะให้การอนุรักษ์กับการมีชีวิตอยู่ตามวิถีของกลุ่มชาติพัน์สอดคล้องและอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป
สำหรับการจัดงานในครั้งนี้มีกลุ่มชาวมานิ และกลุ่มกะเหรี่ยง ชาวเลจาก 5 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล ภาพรวมกลุ่มชาวเลที่มาร่วมงานเกือบ 1,500 คน ทั้งหมด 46 ชุมชน ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน
นิตยา แสงมณี // ผุ้สื่อข่าวประจำจัวหวัดสตูล