” เมืองแหลมฉบัง ” !! ประธานอนุกรรมาธิการ การบริหาร|ราชการรูปแบบพิเศษ นำคณะอนุกรรมาธิการ ดูงานบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่ หวังผลักดันเป็นเมืองพิเศษ รูปแบบเมืองท่าและอุตสาหกรรม

มีความเป็นไปได้สูง ” เมืองแหลมฉบัง ” !! ประธานอนุกรรมาธิการ การบริหาร|ราชการรูปแบบพิเศษ นำคณะอนุกรรมาธิการ ดูงานบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่ หวังผลักดันเป็นเมืองพิเศษ รูปแบบเมืองท่าและอุตสาหกรรม

ที่ห้องประชุมเมืองท่า ชั้น 2 สำนักงานเทศบาลนครแหลมฉบัง ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะผู้บริหาร เทศบาลนครแหลมฉบัง พร้อมด้วย นางจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง ได้ให้การต้อนรับ นายพรชัย ตระกูลวรานนท์ กรรมาธิการ และประธานคณะอนุกรรมาธิการการบริหารราชการรูปแบบพิเศษและการกระจายอำนาจ และคณะอนุกรรมาธิการ เพื่อรับฟังรายละเอียดการจัดตั้งเทศบาลนครแหลมฉบัง เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ โดยมี คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการชุมชน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ในพื้นที่เข้าร่วมในที่ประชุม โดยวัตถุประสงค์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นในทุกภาคส่วน และเก็บข้อมูลพื้นฐานในด้านการพัฒนาเมือง ท่าเรือ อุตสาหกรรม ผลกระทบในสาธารณูปโภค ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เพื่อผลักดันให้เป็นเมืองพิเศษ รูปแบบเมืองท่าและอุตสาหกรรม
ด้านนายพรชัย ตระกูลวรานนท์ กรรมาธิการ และประธานคณะอนุกรรมาธิการการบริหารราชการรูปแบบพิเศษและการกระจายอำนาจ กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ก็สืบเนื่องจากทางด้านนายบุญเลิศ น้อมศิลป์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะผู้บริหาร เทศบาลนครแหลมฉบัง ได้นำเสนอเรื่องการขอยกฐานะเทศบาลนครแหลมฉบัง เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มาสู่คณะอนุกรรมาธิการการบริหารราชการรูปแบบพิเศษและการกระจายอำนาจ โดยพบว่าเรื่องนี้ มีการนำเสนอไปยังกระทรวงมหาหาดไทย ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายนิติบัญญัติ รับทราบเรื่องแล้ว แต่ยังคงมีข้อสังเกตที่ต้องแก้ไข เนื่องจากผลการศึกษาและวิจัย การขอยกฐานะเทศบาลนครแหลมฉบัง ให้เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เป็นผลการศึกษาและวิจัย ที่มีระยะเวลากว่า 20 ปี ซึ่งได้มีการติดตามเรื่อง และได้มีการแก้ไขร่างกฎหมายเมืองพิเศษ เพื่อให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นอยู่ตลาดเวลา

แต่อย่างไรก็ตามตนเองได้ให้ทางด้าน รศ.ดร.ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา อาจารย์ประจำคณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อนุกรรมาธิการ) จะช่วยลงทำ workshop ที่ แหลมฉบัง เพื่อหาจุดศูนย์ร่วมและวิสัยทัศน์ใหม่ ในขณะเดียวกันก็จะให้ทางสถาบันพระปกเกล้า ช่วยในการศึกษาอีกทางหนึ่ง เนื่องจากทางสถาบันพระปกเกล้า มีข้อมูลเทศบาลนครแม่สอด ที่เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งจะทำให้การทำข้อมูลตรงจุดนี้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
นายพรชัย ตระกูลวรานนท์ กรรมาธิการ และประธานคณะอนุกรรมาธิการการบริหารราชการรูปแบบพิเศษและการกระจายอำนาจ กล่าวต่อว่า สำหรับในเรื่องของยกร่างกฎหมายเฉพาะ ที่อยู่ในความรับผิดชอบกระทรวงมหาหาดไทย ซึ่งทั้ง 3 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลนครแม่สอด เทสบาลนครแหลมฉบัง และเทศบาลนครเกาะสมุย ได้มีการยกร่างกฎหมายใหม่ไปแล้ว แต่ที่ต้องล่าช้ากว่าที่ควรนั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล สภาพบริบทของสังคม สภาพภูมิสังคม และความเป็นเมืองของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ส่งผลให้เกิดความล่าช้าดังกล่าว แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้น ความเป็นเมืองพิเศษ จะต้องเกิดจากรับฟังและข้อเสนอและจากทุกภาคส่วน อย่างเช่นแหลมฉบัง ก็จะต้องเป็นเมืองท่าและอุตสาหกรรม การพัฒนาสาธารณูปโภค การเป็นอยู่ของพื้นที่ เป็นอย่างไรบ้าง และดีมากน้อยแค่ไหน
ทั้งนี้ในที่ประชุมยังได้มีการสอบถามความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน อาทิเช่น บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ท่าเรือแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา โรงพยาบาลวิภารามแหลมฉบัง สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ถึงการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต การใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำประปา เพียงพอถึงต่อการพัฒนาหรือในอนาคตหรือไม่ รวมถึงภาคประชาชน มีความเห็นอย่างไรก็ตามการ ยกฐานะเทศบาลนครแหลมฉบัง ให้เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะผู้บริหาร เทศบาลนครแหลมฉบัง กล่าวต่อว่า สำหรับรูปแบบพิเศษที่จะเกิดขึ้น หากเทศบาลนครแหลมฉบัง ได้ยกฐานะเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ก็จะสามารถมีบริบท ในการทำหน้าที่บริหารจัดการปัญหาที่สำคัญของเทศบาล (3 ลำดับแรก) คือ 1 ปัญหาด้านการจัดบริการสาธารณะในขตชุมชนมือง อันเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมและเมืองท่า ที่ยังไม่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ 2 ปัญหาอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ที่ยังไม่ครอบคลุมในทุกมิติของการบริหารจัดการและเหมาะสมกับความเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษมาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม 3. ปัญหาด้านรายได้และงบประมาณในการบริหารจัดการ ที่ยังมีเพียงพอสำหรับการจัดบริการสาธารณะ

# สมชาย รายงาน จากนครแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี