พังงา/จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นภาคประชาสังคมร่วมบริหารจัดการน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก
พังงา/จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นภาคประชาสังคมร่วมบริหารจัดการน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายบุญเติม เรณุมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่โครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ และแผนหลัก การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก จัดกำหนดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 เวทีที่ 1 ที่ห้องประชุมโรงแรม เลอ เอราวัณพังงา อ.เมือง จ.พังงา ซึ่งมีประชาชนจากภาคประชาสังคม จำนวนกว่า 200 คน เข้าร่วมการับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ด้วยความสนใจ โดยทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เข้าต่อโครงการศึกษา ประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลัก โดยลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 12.31 ล้านไร่ ครอบคลุม 11 จังหวัด โดยสภาพปัญหาของพื้นที่ คือ ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดเล็ก แหละแหล่งน้ำธรรมชาติ การใช้น้ำส่วนใหญ่ เป็นปัญหาน้ำการอุปโภคบริโภค และการท่องเที่ยว สภาพปัญหาในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นปัญหาน้ำท่วม บริเวณลุ่มน้ำกระบุรี ลุ่มน้ำคลองละอุ่น คลองตะกั่วป่า ในขณะปัญหาขาดแคลนน้ำอยู่ในระดับกลาง ไม่มีพื้นที่วิกฤติแล้ง แต่ปัญหาสำคัญของลุ่มน้ำ คือ การขยายตัวของภาคท่องเที่ยว โดยเฉพาะบริเวณหมู่เกาะต่างๆ ซึ่งจัดหาแหล่งน้ำดิบสำรองได้ยาก ทำให้ต้องการศึกษาประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก และเป็นไปตามแผนแม่บทการบริหารทรัพยากรน้ำ 20ปี
โดย พลตรี ดร.ศิลปานันต์ ลำกูล นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณะ กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของประชาสังคม ซึ่งมีตัวแทนจากหลากหลายวิชาชีพ เข้าแสดงความคิดเห็นในด้านการบริหารจัดการน้ำ โดยไม่ได้มีการนำเสนอจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว เมื่อมีแผนแม่บทในการบริหารจัดการน้ำ โดยมีประชาสังคมเข้าร่วมและลงความคิดเห็นสภาพปัญหาและแนะแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้การจัดการบริหารน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก สามารถได้รับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้น
ด้าน รศ.ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ รองผู้จัดการโครงการฯ นักวิชาการผู้ชำนาญด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ต้องการให้คณะกรรมการน้ำประจำจังหวัด อำเภอ ในการพัฒนาชาติ ซึ่งข้อเท็จจริงปริมาณน้ำมีมากพอที่จะบริโภค แต่ไม่สามารถกักเก็บได้ ทำให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารน้ำที่ต้องกักเก็บน้ำให้สามารถมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนได้ โดยมีภาคประชาสังคมในพื้นที่เป็นหน่วยกลั่นนกรองให้สามารถดำเนินการเก็บกักน้ำให้เพียงพอ
ส่วน นายกรณรมย์ วรรณกุล ผอ.สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 4 กล่าวว่า สภาพภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่สามารถสร้างอ่างเก็บน้ำได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากสภาพเป็นพื้นที่ภูเขามากกว่าพื้นที่ราบ ทำให้ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกต้องบูรณาการระดับท้องถิ่น โดยดำเนินการการจัดการบริหารน้ำระดับท้องถิ่นเกิดขึ้น ซึ่งหากไม่มีการซักถามหรือสอบถามปัญหาของระดับพื้นที่ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นได้ โดยหลังจากมี พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ปี 2561 เกิดขึ้น จะมีการบริหารทรัพยากรน้ำร่วมกันในระดับนโยบายและพื้นที่ ต้องเข้ามาปรึกษาร่วมกันในกรณีปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำขาดแคลน สภาพน้ำเป็นอย่างไร ต้องแก้ไขอย่างไร โดยรัฐบาลมีงบประมาณเข้าจัดการ ส่วนพื้นที่จะเป็นการมีส่วนร่วม เพื่อช่วยกันดำเนินการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อไป