พะเยา สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาพะเยาเขต 1 จับมือ มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ขับเคลื่อนเพื่อลดภาวะอ้วนและน้ำหนักตัวที่เกินในเด็กประถมศึกษา 2อำเภอ เมือง-ดอกคำใต้
พะเยา สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาพะเยาเขต 1 จับมือ มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ขับเคลื่อนเพื่อลดภาวะอ้วนและน้ำหนักตัวที่เกินในเด็กประถมศึกษา 2อำเภอ เมือง-ดอกคำใต้
วันที่30 มิย 2563 เวลา 9.00 น. นายประถม เชื้อหมอ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา พะเยาเขต 1
ผศ.ดร.กังสดาล กนกหงษ์ สาขาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, นางสาวพวงทอง ว่องไว มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสถานศึกษาในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอดอกคำใต้ 26 สถานศึกษา 60 คน ร่วมหารือการเลือกบริโภค อาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเน้นการบริโภคผักและผลไม้ เพื่อป้องกันและลดภาวะอ้วน เน้นการสร้างความร่วมมือผู้บริหาร และสนับสนุนให้เด็กนักเรียน เพื่อร่วมเรียนรู้กระบวนการลดภาวะอ้วนและน้ำหนักตัวที่เกินในเด็กประถมศึกษา ขึ้น
ทั้งนี้สถานการณ์ภาวะโภชนาการของประเทศไทยปัจจุบันพบว่ามีเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 6.7% และมีภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง เตี้ย แคระ แกร็น ถึง 10.5% พบมากที่สุดในภาคเหนือ ซึ่งในบาง จังหวัดสูงถึงร้อยละ 24.9 ส่วนภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันพบ 5.4%2 แม้ว่าประเทศไทยจะ ดำเนินการขจัดปัญหาภาวะโภชนาการขาดและมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ แต่เด็กวัยเรียนที่มีภาวะ โภชนาการเกินและอ้วนกลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี พ.ศ. 2552 พบร้อยละ 9.7 และ 10 ปีต่อมา พ.ศ. 2562 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.43 ซึ่งภาวะทุพโภชนาการในช่วงต้นของชีวิตมีบทบาทสำคัญต่อ สุขภาพในระยะยาว หากไม่ดำเนินการแก้ไข จะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ให้เกิดโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังตามมาได้ ภาวะโรคอ้วน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ทางด้านร่างกาย ได้แก่ โรคข้อ และกระดูก โรคระบบทางเดินหายใจ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ นำไปสู่การเกิด โรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคความดันโลหิตสูง