พะเยา ฮือฮา! พบหลักศิลาจารึกโบราณอายุกว่า 524 ปีวัดร่องป่าเปา(วัดบ้านปาน)

พะเยา ฮือฮา! พบหลักศิลาจารึกโบราณอายุกว่า 524 ปีวัดร่องป่าเปา(วัดบ้านปาน)

วันที่ 30 พฤษภาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบหลักศิลาจารึกโบราณอายุกว่าพันปีที่วัดร่องป่าเปา ตั้งอยู่บ้านห้วยน้ำขาว หมู่ 2 ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยชาวบ้านและ เจ้าอาวาสวัด ล่าสุดค้นพบ นำมาเก็บไว้ในวัด ก็เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษา ประวัติความเป็นมาของวัดร่องป่าเปา ในยุคสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยาก เนื่องศิลาจารึก เป็นหินแข็ง แกร่ง ตามอายุ ลักษณะศิลาจารึก โบราณ มีขนาดความสูง 116 เซนติเมตร กว้าง 42 เซนติเมตร หนา 4 เซนติเมตร แตกเป็น 3 ชิ้น โดยตัวอักษรที่จารึกไว้บนแผ่นศิลาจารึก พบเป็นตัวอักษร ฝักขามผสมตัวอักษรล้านนา ซึ่งได้มีการแปลโดย ดร.ฮันเฟ้นท์ นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ได้อธิบายว่าเดิมชื่อวัดบ้านปานโดยในสมัยศักราช 858 ประมาณพุทธศักราช 2039 พระเมืองแก้วได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ ได้มีพระราชโอรสพระนามว่าพระเม กุฏิหรือพระมหาสามีสีลวิสุทธเจ้า ได้มาทำการสร้างวัด อุโบสถและพระไตรปิฎก ไว้ที่วัดบ้านปานแห่งนี้ และได้ส่งให้นำเอาหลักศิลาจารึกมาฝังไว้ภายในวัด พระมหาเทวีเจ้าจิระประภา ทรงได้ประทานพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ มาไว้ที่วัดบ้านปาน 1 องค์

วัดร่องป่าเปาสร้างเมื่อพุทธศักราช 2430 ต่อมาวัดก็ถูกทิ้งให้รกร้างว่างเปล่า จนมาถึงพุทธศักราช 2530 มีการบูรณะวัดขึ้นอีกครั้งโดยพระอธิการเติมศักดิ์ ชาตวีโร อดีตเจ้าอาวาส ได้ทำหนังสือขอให้รับรองสภาพวัด ต่อมาได้มีการประกาศกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการที่ศธ. 0403/14590 รับรองสภาพวัดร่องป่าเปาเป็นวัดสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ. 121 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นโดยให้ไว้ ณ.วันที่ 8 เดือนพฤศจิกายน 2536 โดยเนื้อที่ ของวัด ทั้งหมดมี 1 ไร่ 3 งาน 85.6 / 10 ตารางวา สำหรับศิลาจารึกวัดร่องป่าเปามีการจารึกอักษรทั้ง 2 ด้าน หลักศิลาจารึกได้หักเป็นสามท่อนแต่มีความสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นตัวหนังสือเห็นชัดเจนมีขนาดกว้าง 42ซม.สูง 116 ซม. หนา 4 ซม. และทางวัดได้นำมาต่อกันตั้งไว้ ณ อุโบสถเพื่อให้คณะศรัทธาญาติโยมหรือผู้ที่สนใจในความเป็นมาของวัดและเข้ามาศึกษาประวัติศาสตร์

พระไตรรัตน์ รตนโชโต เจ้าอาวาสวัดร่องป่าเปา กล่าวว่า วัดร่องป่าเปาหรือ วัดบ้านปาน ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เพราะเป็นวัดที่พระเจ้าติโลกราชเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลให้กับ พระมารดาของพระมเหสี เมื่อปี พศ. 2039 หรือ ค.ศ. 1496 ขณะเสด็จผ่านเมืองภูกามยาวหรือเมืองพะเยาในปัจจุบันนี้ ซึ่งตามหลักศิลาจารึกเป็นสำคัญโดยมี ดร.ฮันเฟ้นท์ นักโบราณคดีชาวเยอรมันอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้แปลศิลาจารึก สร้างมาตั้งแต่สมัยพุทธศักราช 2039 อ้างอิงโดยหลักฐานแท่นศิลาจารึกที่ค้นพบโดยสมัยพระเจ้าติโลกราช สำหรับศิลาจารึกจารึกเกี่ยวกับ ผู้ปกครองสร้างให้กับ ใครบ้าง เหตุผลที่จารึกไว้ ไห้รู้ว่าวัดนี้เป็นวัดที่สำคัญ สมัยพระเจ้าเมืองแก้ว เจ้าปกครองเชียงใหม่ ได้มาสร้างวัดไว้ในแขวงแซ่ตัน ซึ่งเป็นตำบลในเขตเมืองพะเยา หรือปัจจุบันคือวัดร่องป่าเปา ในการสร้างอารามหรือวัดแห่งนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกถึง มารดาของพระมเหสี ของพระเจ้า ซึ่งกษัตริย์สมัยก่อนมีมเหสีหลายองค์ และได้สร้างวัดนี้ เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้มารดาของพระมเหสี ได้สร้างไว้เมื่อ ปี พ.ศ. 2539 ก็ประมาณ 524 กว่าปี สำหรับหลักศิลาจารึกเก็บไว้ ในอุโบสถของวัดจนทุกวันนี้