ครั้งแรกของประเทศรับซื้อขยะจากการเกษตรกรเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายและลดการเผา

ครั้งแรกของประเทศรับซื้อขยะจากการเกษตรกรเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายและลดการเผา พร้อมลงนามMOUการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานชีวมวล ระหว่างศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร/เครือข่ายกับบริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) ณ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6
จ.เชียงใหม่

ว่าที่ ร.ต. ดร. สมสวย ปัญญาสิทธิ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานชีวมวล ระหว่าง ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตัวแทนจากอำเภอ 5 อำเภอแม่แจ่ม ,สารภี ,ดอยหล่อ,ดอยเต่าและเชียงดาว กับนางสาวจิรฐา ทรงเมตตา กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน บริษัท แอ็ดวานซ์ ไบโอ เอเชีย จำกัด นายอภิชา ชลอรักษ์ ผู้รับมอบอำนาจกระทำการแทน บริษัท โกลบัล วู้ดชิพ จำกัด ซึ่งเป็นก้าวแรกครั้งแรกของประเทศที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินการร่วมกัน 3 แนวทางหลักคือสร้างมูลค่าจาก
วัสดุการเกษตรของเกษตรกร ลดการเผาวัสดุการเกษตร เสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร สร้างสมดุลระบบนิเวศแก่ชุมชน และที่สำคัญลดการเผาจากวัสดุการเกษตรที่ก่อให้เกิดปัยหามลพิษทางอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ ณ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่

การจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทั้งนี้เศาวัศดุเหลือใช้จะนำไปสู่กระบวนการผลิตไฟฟ้ารเป็นพลังงานชีวมวล ซึ่งทางบริษัทสามารถรองรับได้ปีละ 2-3 ล้านตัน พร้อมเปิดจุดรับซื้อจาก
เกษตรกรโดยตรงของ 5 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่

อย่างไรก็ตามเป็นไปตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายสำคัญในการระดมพลังภาคีทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนา การเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดคุณค่า มูลค่าในการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรที่เติบโต แข่งขันได้ บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีแนวนโยบายในการนำเศษวัสดุ ทางการเกษตรมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มที่เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อมในการลดปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาพื้นที่ทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว โดยได้กำหนดแนวทาง
ผ่านกลไกประชารัฐเพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร
ศูนย์เครือข่าย และภาคเอกชน จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามแนวนโยบายของรัฐบาล และเพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
และจำหน่ายการผลิตเป็นพลังงานชีวมวลแก่ผู้รับซื้อโดยเป็นการทำบันทึกข้อตกลงร่วมมือกัน.

ทรงวุฒิ ทับทอง
cr. ศิระ วีรตันตยาภรณ์