“หมอแว” แพทย์คนดัง ระบุ ประเทศไทยขาดแคลนแพทย์ คนไทยเข้าไม่ถึงการรักษา ยันจัดโครงการเจียระไน ทุนพยาบาล 3,000 สู่ทุนสร้างแพทย์ 500 ตำแหน่ง เพื่อคนไทยและแผ่นดิน
นราธิวาส/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ
“หมอแว” แพทย์คนดัง ระบุ ประเทศไทยขาดแคลนแพทย์ คนไทยเข้าไม่ถึงการรักษา ยันจัดโครงการเจียระไน ทุนพยาบาล 3,000 สู่ทุนสร้างแพทย์ 500 ตำแหน่ง เพื่อคนไทยและแผ่นดิน
ที่ห้องประชุมเธียเตอร์ อุทยานการเรียนรู้ ทีเคพาร์ค เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ได้จัดให้การบรรยาย และรับฟังความเห็น ในหัวข้อโครงการ เจียระไนแพทย์สู่ชุมชน จากทุนพยาบาล 3,000 อัตรา สู่ทุนแพทย์ชนบท 500 อัตรา ให้กับ ผู้แทนสถานบันการศึกษา ภาคประชาสังคม บุคลการทางการแพทย์ อสม.นักสื่อมวลชน ตลอดจนภาคราชการและภาคเอกชนและประชาชน โดยมีนายแพทย์แวมาฮาดี แวดาโอะ (หมอแว) เจ้าของโครงการฯ และนายเมธา เมฆารัฐ ประธานศูนย์ประสานงานภาคีเครือการพัฒนาจังหวัดนราธิวาส เป็นผู้บรรยายโครงการ เพื่อให้ความรู้ และการสร้างความเข้าใจ เพื่อเดินหน้าและผลัดดันโครงการ ผลิตแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ สู่ระบบสังคมไทยให้เป็นรูปธรรม
โดยนายแพทย์แวมาฮาดี แวดาโอะ กล่าวว่า.. จากโครงการพยาบาล 3,000 ตำแหน่ง เมื่อปีพ.ศ.2551 และสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เมื่อปี พ.ศ.2556 เป็นโครงการที่เสนอโดยภาคประชาสังคม ได้รับการหนุนเสริม นำเสนอโครงการและร่วมดำเนินการจากฝ่ายการเมือง (นพ.แวมาฮาดี แวดาโอะ) ช่วงนั้นมีพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ให้การสนับสนุน และสถาบันการศึกษาวิทยาลัยการพยาบาล 27 แห่งภายใต้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมขับเคลื่อนดำเนินการพร้อมกับหน่วยงานอื่นๆที่ เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมมือดำเนินการไปด้วยกัน สร้างคุณูปการให้กับชุมชนอย่างอเนกอนันต์ ถึงปัจจุบัน ในทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้กับพื้นที่และประชาชน
ดังนั้น โครงการเจียระไนเพชรสู่วงการแพทย์ เป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะสำเร็จ และยังคง ดำเนินการจนถึงปัจจุบันนี้ ด้วยการส่งนักศึกษาไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาสัยต่างๆ ใน ต่างประเทศ ในสาขาวิชาต่างๆ ด้วยความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศสานพลังกัน ซึ่งมีผู้สำเร็จการศึกษากลับมา พัฒพาประเทศเป็นจำนวนหลักร้อยและกำลังศึกษาอยู่อีกหลายร้อยคน และที่สำคัญยิ่ง ผลผลิตที่มีคุณภาพเหล่านี้กำลังรวมตัวที่จะสานต่อเพื่อจัดตั้งเป็นองค์กรสมาคม เพื่อรับช่วงเป็นมรดก ดำเนินการให้เป็นพันธะสัญญาของสังคมสืบไป และโครงการเจียระไนแพทย์เพื่อชุมชนก็เป็นจุดปฐมบทแห่งพันธสัญญา ที่ได้ปฏิญาณไว้ ซึ่งประเทศสาธารณรัฐคิวบา เปิดโอกาสนักศึกษาจากต่างประเทศ รับทุนการเข้าศึกษาต่อฟรี ในคณะแพทย์ศาสตร์เป็นจำนวนมาก และสาธารณรัฐคิวบา เปนประเทศต้นแบบที่จัดบริการสาธารณสุขที่ดีที่สุดในอันดับต้นๆของโลก
ลักษณะของโครงการ จะเป็นโครงการในลักษณะการลงทุนทางสังคมนำร่อง โดยการให้ทุนการศึกษาฟรี โดยรัฐบาลสาธารณรัฐคิวนา แบบไม่เต็ม 100% (ฟรีเฉพาะคำใช้จ่ายการศึกษาและที่พัก) จำนวน 500 ทุน เป็นโครงการที่ใหญ่ ต้องใช้งบประมาณสูงในส่วนที่ต้องเพิ่มเติมผันแปรไปตาม จำนวนนักศึกษาที่รับทุน โครงการยังสามารถบริหารงบประมาณได้ตามขีดความสามารถที่มี ประกอบกับต้องใช้ระยะเวลายาวนานถึง 9 ปี ซึ่งมีความผันแปรสูงในเชิงศักยภาพของผู้ให้ทุนและผู้รับทุน จึงต้องระมัดระวังรอบคอบในวิธีการดำเนินการที่จำเป็นต้องให้น้ำหนักในเรื่องการประสานงาน ข้อตกลง และการสร้างความมั่นใจเป็นหลัก โดยสามารถยืดหยุ่น(ปรับตัวได้) ตามสถานการณ์ จะเป็นโครงการที่สามารถต่อยอตปีต่อปีเป็นโครงการ~ไปตามขีดความสามารถ จนบรรลุเป้าหมายเต็มพื้นที่ทุกตำบล 7850 ตำบล มีแพทย์ประจำตำบลเป็นกลไกหน่วยปฐมภูมิในการ ดูแลสุขภาพของประชาชนในระบบสุขภาพของประเทศไทย โดยภาคประชาสังคมขับเคลื่อน ภาครัฐ เอกชนสนับสนุนในลักษณะเสริมพลังซึ่งกันและกัน ระยะดำเนินการ ปี 2565-2567 สร้างหรือผลิตบุคลากรแพทย์จำนวน 500 อัตรา(ตำแหน่ง) เพื่อนำแพทย์ที่สำเร็จ กระจายแพทย์เข้าสู่ตำบล ปฎบัติหน้าที่แพทย์ประจำตำบล เพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยปฐมภูมิในระบบการบริหารดูแลสุขภาพ ตลอดจนเป็นแนวทางแก้ปัญหาแพทย์กระจุกตัวและขาดแคลนแพทย์ในพื้นที่ภูมิภาค ท้องถิ่น และชนบทพื้นที่ ที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขในภาวะปัจจุบัน หากรัฐบาลสนับสนุนและเข้าใจ จะทำให้โครงการดังกล่าว ไปด้วยดีและจะเกิดผลดีต่อ คนไทยทุกคนในการเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึง ซึ่งหากเทียบอัตรา ประชากรไทยในประเทศกับแพทย์ และเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น ต้องใช้คำว่าเราล้าหลัง ไม่สมส่วนการประชากรที่มีมาก แต่แพทย์ที่มีอยู่ต้องมารับผิดชอบการรักษา จนทำให้การรักษาไม่เข้าถึงประชาชน ฉะนั้นถึงเวลาที่รัฐบาล ต้องทบทวนเดินหน้า เพื่อประชาชนและบ้านเมือง ซึ่งทางผู้ทำโครงการ โครงการเจียระไนเพชรสู่วงการแพทย์ พร้อมขับเคลื่อนเดินหน้า เพื่อคนไทยทุกคน นายแพทย์แวมาฮาดีกล่าว..