ร้อยเอ็ด ฮีต12 ครอง 14 ประเพณีชาวอีสาน..พิธีบุญข้าวประดับดิน!!

ร้อยเอ็ด ฮีต12 ครอง 14 ประเพณีชาวอีสาน..พิธีบุญข้าวประดับดิน!!
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด….เช้าวันพฤหัสบดี ที่ 29 สิงหาคม 2562 ตรงกับวันพระแรม15 ค่ำ เดือน 9 ทำบุญไหว้พระในวันธรรมะสวนะนายเจนเจตน ์เจนนาวิน นายอำเภอเมืองร้อยเอ็ด มอบหมายให้ว่าที่ร้อยตรีประสิทธิ์ ฉ่ำมณี ปลัดอาวุโส
เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรในวันธรรมะสวนะ

หัวหน้าส่วนราชการอำเภอเมืองร้อยเอ็ด นายบุรี ทิพนัส สาธารณสุขอำเภอเมืองร้อยเอ็ด,นางสาวเยาวม
าลย์ เศรษฐา พัฒนาการอำเภอเมืองร้อยเอ็ด,นางกุสุมา จันทรวิภาค ผอ.รพ.สต โนนรัง ทำบุญวันพระ วันบุญข้าวประดับดิน โดยพร้อมเพรียงกันฯ
ณ วัดบ้านโนนสั้น หมู่ที่ 3 ตำบลโนนรัง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
///////////////////
ชาวบ้าน กว่า 50 คน ต่างพากันทยอยออกมาทำบุญข้าวประดับดินตั้งแต่ 04.00 น. บุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า ที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และสัตว์นรกหรือเปรตประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานโดยบุญข้าวประดับดิน เป็นงานประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า ของทุก ๆ ปี ประเพณีบุญข้าวประดับดิน ทั้งนี้ในการทำบุญข้าวประดับดินนั้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ มาห่อด้วยใบตอง และทำเป็นห่อเล็ก ๆ ก่อนจะนำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์ หรือโบสถ์ โดยการทำบุญข้าวประดับดินนี้ ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรก หรือเปรตนอกจากนี้ บุญข้าวประดับดิน ยังถือว่าเป็นการให้ทานแก่ผู้ยากไร้รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ที่ต้องหิว อดมื้อกินมื้อมาตลอดทั้งปีอีกด้วย เพราะการที่ตั้งอาหารไว้ที่พื้นทำให้สัตว์เหล่านั้นสามารถเข้ามากินอาหารได้อย่างเต็มที่ ยายอายุ 65 ปี กล่าวว่า ตื่นตั้งแต่เที่ยงคืนเตรียมหุงหาอาหาร เพื่อที่จะมาทำบุญในวันนี้ เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้วการทำบุญข้าวประดับดินนี้จะเตรียมอาหารมาให้พระสงฆ์ท่านได้สวดหยาดน้ำใส่อาหารที่เตรียมมา จากนั้นจะให้ญาติโยมที่มานำไปวางไว้ตามที่ต่างๆฯลฯความเป็นมาบุญข้าวประดับดินการทำบุญข้าวประดับดินนี้ เกิดจากความเชื่อตามนิทานธรรมบทว่า ญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ได้ยักยอกเงินวัดไปเป็นของตนเอง ครั้นตายไปแล้วได้ไปเกิดเป็นเปรตในนรก และเมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วมิได้อุทิศให้ญาติที่ตาย กลางคืนพวกญาติที่ตายมาแสดงตัวเปล่งเสียงน่ากลัวให้ปรากฏใกล้พระราชนิเวศน์ รุ่งเช้าได้เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทูลเหตุุให้ทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีก แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ ญาติที่ตายไปจึงได้รับส่วนกุศล ดังนั้น การทำบุญข้าวประดับดิน คือการทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ตายแล้ว ถือเป็นประเพณีที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี ประวัติบุญข้าวประดับดินประเพณีบุญเดือนเก้าที่สืบทอดต่อกันมาพิธีกรรมบุญข้าวประดับดิน มีดังนี้1.วันแรม 13 ค่ำ -14 ค่ำเดือน 9 ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้ 4 ส่วน ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง ส่วนที่สามอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์ ในส่วนที่สาม ญาติโยมจะห่อข้าวน้อย ซึ่งมีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อขนาดเท่าฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบตอง 2. วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะไปวัดตั้งแต่เวลาตี 4 เพื่อนำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทง หรือเย็บเป็นห่อเหมือนข้าวสากไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่าง ๆ ซึ่งการวางแบบนี้ เรียกว่า การวางห่อข้าวน้อย แต่หากเป็นการนำไปวางในวัด จะเรียกว่า การยาย (วางเป็นระยะ ๆ ) ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใดหลังจากวางเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารทำบุญที่วัดอีกทีหนึ่งในตอนเช้า เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน ต่อจากนั้น ชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุก ๆ คนอาหาร คาว หวานทั้งหมด 9 อย่าง แล้วแต่ใครจะทำมาทำบุญ…

////////////////
ภาพ/ข่าว :: ศรีไพร ทูลธรรม ผู้สื่อข่าว สำนักข่าวประจำจังหวัดร้อยเอ็ดชมรมสื่อออนไลน์it รายงาน