ฮัทชิสัน พอร์ท พาสื่อมวลชน เยี่ยมชม “ท่าเรืออัจฉริยะ” พร้อมรองรับ การพัฒนาและการเติบโตของ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC
ฮัทชิสัน พอร์ท พาสื่อมวลชน เยี่ยมชม “ท่าเรืออัจฉริยะ” พร้อมรองรับ การพัฒนาและการเติบโตของ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC
ฮัทชิสัน พอร์ท พาสื่อมวลชน เยี่ยมชม ศูนย์บริการผู้เยี่ยมชมแห่งใหม่ เพื่อแสดงศักยภาพของเทคโนโลยีการควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกล หวังยกระดับท่าเรือแหลมฉบัง สู่ “ท่าเรืออัจฉริยะ” ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0
วันนี้(27 พ.ย.) มร.สตีเฟ่น แอชเวิร์ธ กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมด้วยนายอาณัติ อัชฌิมา ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินอล จำกัด และคณะผู้บริหาร ได้ให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชน ในการเข้าเยี่ยมชมท่าเทียบเรือชุด D ณ ศูนย์บริการผู้เยี่ยมชม ณ ท่าเทียบเรือชุด D ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
มร.สตีเฟ่น กล่าวว่า ท่าเทียบเรือชุด D ท่าเรือแหลมฉบัง นั้น ทางบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาและติดตั้งเทคโนโลยี ล้ำสมัย ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ยกระดับให้ท่าเทียบเรือชุด D สู่ท่าเทียบเรือระดับแฟลกชิป ของฮัทชิสัน พอร์ท กลายเป็นหนึ่งในท่าบริการตู้สินค้าที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีศักยภาพรองรับบรรดาเรือขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
นอกจากนั้น ท่าเทียบเรือชุด D ตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก และประเทศอื่นๆ ได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ท่าเรือแหลมฉบังยังอยู่ในพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐานสำคัญภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่มุ่งขับเคลื่อนการเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้ นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศผ่านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
มร.สตีเฟ่น กล่าวต่อไปว่า ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย กำลังวางแผนนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่ท่าเทียบเรือชุด D เช่น โครงการเครือข่ายการขนส่งระดับโลก โดยนำเทคโนโลยีบล็อกเชน มาเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างสายเดินเรือต่างๆ และผู้ใช้งานท่าเรือ ,เทคโนโลยีรถบรรทุกไร้คนขับ ที่จะนำมาใช้ทั้งบริเวณหน้าท่าและลานในท่า และเทคโนโลยีประตูอัตโนมัติ ที่ประตูทางเข้าและทางออกท่า เพื่อระบุตัวตนของรถได้จากระยะไกล โดยเทคโนโลยีต่างๆดังกล่าวสอดคล้องกับแผนของการท่าเรือแห่งประเทศไทยในการผลักดันให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็น “ท่าเรืออัจฉริยะ” ซึ่งนวัตกรรมต่างๆนั้นพร้อมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น เทคโนโลยีรถบรรทุกไร้คนขับ คาดจะนำมาทดลองใช้จำนวน 6 คัน ในเดือนมกราคม 2563 นี้ และจะดำเนินการให้ครบ 100 คัน ตามแผนงานที่วางไว้
ปัจจุบันท่าเทียบเรือชุด D เสร็จแล้วราว 50 % โดยมีความยาวหน้าท่า 1,000 เมตร ประกอบด้วยปั่นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าจำนวน 6 คัน และปั่นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง จำนวน 20 คัน โดยทั้งหมดติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกลอย่างเต็มรูปแบบ โดยท่าเทียบเรือดังกล่าวสามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าระวางความจุเกิน 14,000 ทีอียู (หน่วยกับตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต) ซึ่งมีน้ำหนักรวมได้มากถึง 150,000 ตัน และมีความยากของเรือกว่า 360 เมตร
และในปี 2023 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า โครงการท่าเทียบเรือชุด D จะเสร็จสมบูรณ์ จะมีความยาวหน้าท่ารวมทั้งสิ้น 1,700 เมตร ประกอบไปด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า จำนวน 17 คัน และมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางจำนวน 43 คัน โดยเพิ่มความสาสมารถรองรับตู้สินค้าของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย และท่าเรือแหลมฉบังได้อีก 3.5 ล้านทีอียู
# สมชาย แก้วนุ่ม แหลมฉบัง ชลบุรี รายงาน