จุรินทร์ เคาะ 11 เรื่องแก้ปัญหาเพื่อ “ชาวพังงา” พร้อมติดตามคืบหน้าใกล้ชิด
จุรินทร์ เคาะ 11 เรื่องแก้ปัญหาเพื่อ “ชาวพังงา” พร้อมติดตามคืบหน้าใกล้ชิด
วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2563
เวลา 16.15น. น. ที่หอประชุมภูผา ศาลากลางจังหวัดพังงา
หลังเสร็จสิ้นการประชุมติดตามการปฎิบัติราชการในภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในพื้นที่จังหวัดพังงา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานการประชุม โดยในที่ประชุมได้สรุปการประชุมติดตามงานในพื้นที่จังหวัดพังงา วันที่ 28 กันยายน 2564 เวลา 14.00 – 16.00 ณ ศาลากลางจังหวัดพังงา คือ
1. การเร่งรัดการก่อสร้างสนามบินพังงา ที่ประชุมรับทราบว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการร่าง TOR จะแล้วเสร็จเดือนตุลาคมนี้ และจะได้ผู้รับจ้างเป็นที่ปรึกษาเดือนมกราคม 2564 และการศึกษาจะแล้วเสร็จเดือนกรกฎาคม 2564
2. การท่องเที่ยว โดยอุทยานแห่งชาติสิมิลันจะเปิดในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 และจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว อาทิ งานเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวจังหวัดพังงา ในเดือนธันวาคม 2563 เทศกาลซีฟู้ดจะจัดเดือนกุมภาพันธ์ 64 และงานเซิร์ฟบอร์ดจะสามารถจัดได้ในเดือน พค 64 และจะมีการเพิ่มชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่พังงาอีก 5 ชุมชน ได้แก่ ตะกั่วป่า เกาะปันหยี ตลาดคลองงา (อำเภอเมือง) บ้านพุรอด คุระบุรี) เกาะยาวน้อย ด้วยงบประมาณที่ได้รับจากเงินกู้ 4 แสนล้าน สำหรับการเปิดเกาะตาชัยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เกาะตาชัยถูกปิดมาปีที่ 4 แล้ว ด้วยวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
3. ผังเมือง เพื่อจัดพื้นที่อุตสาหกรรมเพิ่มเติม เนื่องจากพื้นที่สีม่วงทางอุตสาหกรรมไม่เพียงพอ ณ ขณะนี้ มีเพียง 1,029 ไร่เท่านั้น โดยการสร้างโรงงานเพิ่มเติมสามารถทำได้ในพื้นที่ทุกประเภท โดยต้องประกาศกฎกระทรวงเพื่อยกเลิกบัญชีโรงงานที่ห้ามก่อสร้างในเขตพื้นที่สีเขียว น่าจะเสร็จได้ไม่เกินเดือน พค ปีหน้า และปัจจุบันมีการดำเนินการพิจารณาการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมสีม่วงอยู่แล้ว อยู่ในขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์
4. โครงข่ายถนน ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 โครงการ ระยะทาง 59 กิโลเมตร งบประมาณ 1,850 ล้านบาท กำลังดำเนินการ ในพื้นที่ อ ตะกั่วป่า รวมระยะทาง 38 กิโลเมตร 1,466 ล้านบาท และอยู่ในแผนพัฒนาถึงปี 2568 เจ็ดสายทาง รวม 126 กิโลเมตร งบประมาณรวม 6,170 ล้านบาท ทั้งนี้ กรมทางหลวงรับปากว่าได้หารือกับชุมชนแล้ว สำหรับเส้นบางสัก-ตะกั่วป่า และจะนำไปดำเนินการปรับแบบต่อไป
5. การสร้างอ่างเก็บน้ำคลองลำรูใหญ่ อ ท้ายเหมือง ต้องดำเนินการเพิกถอนบางพื้นที่ออกจากการเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อจัดทำแผนที่แนบท้าย พรฎ เพิกถอนอุทยานฯ ซึ่งต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 25 พย ซึ่งจะนำเข้าคกก กฤษฎีกา และนำเสนอ ครม เห็นชอบต่อไป
6. การสร้างท่อประปาพังงา-ภูเก็ต มูลค่า 3,517 ล้านบาท ได้ประสานกับท้องถิ่นแล้ว มีการส่งแบบสำรวจความต้องการใช้น้ำไปยังประชาชนในพื้นที่ กำหนดส่งแบบสำรวจต้นเดือนและปลายเดือนตุลาคม โดยการประปาส่วนภูมิภาคจะเกลี่ยงบประมาณ ไปทำโครงการกระจายน้ำด้วย ไม่ต้องรอหลังการก่อสร้างจบ และมีแผนการสำรองน้ำสามโครงการปริมาณน้ำ 2.2 ล้านลูกบาศก์เมตร ด้วยการซื้อที่ดิน หากเกิดการขาดแคลนน้ำ จะกระจายน้ำในพังงาก่อน
ข้อสั่งการ ให้ทำการประปาส่วนภูมิภาคทำหนังสือยืนยันการยึดหลักให้พังงาใช้น้ำจนพอก่อน และขอให้สอบถามชุมชนตลอดสองข้างทางอย่างชัดเจน เพื่อนำไปทำแผนการกระจายน้ำให้จบ โดยไม่ต้องรอให้การก่อสร้างเสร็จเป็นเอกสาร ส่งผู้ว่าราชการขังพวัดและผู้ตรวจฯ ขอให้รายงานความคืบหน้าในการประชุมครั้งต่อไป
7. การสร้างเรือนจำ จ พังงา แห่งใหม่ พื้นที่ 35 ไร่ ได้ย้ายเข้าใช้พื้นที่แห่งใหม่แล้ว สามารถรองรับนักโทษได้ 2800 คน และได้ส่งมอบพื้นที่เดิมทั้งหมดไปยังกรมธนารักษ์แล้ว และจะไม่มีการดำเนินการในเรื่องการขยายเรือนจำแห่งใหม่เป็นเรือนจำในภูมิภาค
8. ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะทั่วจังหวัดพังงาในฝั่งอ่าวไทย 223 กม ที่รุนแรงอยู่ที่บ้านทุ่งนางดำ โดยมีแนวทางในการแก้ไขด้วยการปรับสมดุลธรรมชาติ และบ้านปากเกาะ แก้ไขโดยการดำเนินงานด้านวิศวกรรมต่อไป และหาดบ้านน้ำเค็ม ซึ่งต้องมีการใช้โครงสร้างในบริเวณชุมชนและสถานประกอบการ และใช้แนวทางปรับสมดุลในบริเวณที่ไม่มีบ้านเรือนหนาแน่น และหาดบ้านท่านุ่น ซึ่งต้องปล่อยให้มีการปรับสมดุลทางธรรมชาติ และสำหรับหาดนางทองที่มีศักยภาพที่ตจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ยังไม่มีแนวทางการแก้ไข
ข้อสั่งการ ขอให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาเป็นเจ้าภาพเชิญ กระทรวงทรัพยากรฯ โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน พังงา (กรอ พังงา) และผู้ตรวจเขตอันดามันจากสำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ มาประชุมหาแนวทางการแก้ไขเรื่องนี้ และรายงานความคืบหน้าในการประชุมครั้งต่อไป และการประชุมครั้งหน้าขอให้อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมาประชุมเอง
9. การแก้ไขเพิ่มเติมร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มรองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี ตะกั่วป่า ท้ายเหมือง ทับปุด อำเภอเมืองพังงา ตะกั่วทุ่ง และเกาะยาว พ.ศ. 2559 ในประเด็นที่มีผลกระทบต่อชุมชนก่อน จะเสนอ ครม พิจารณา และจะออกประกาศฉบับที่ 3 หลังจากประกาศฉบับที่ 2 จะหมดอายุลงในปี 2564 เพื่อปรับปรุงแบบเต็มขั้นต่อไป
ข้อสั่งการ ขอให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบว่าได้ส่งร่างประกาศเวียนให้ภาคเอกชนแล้วหรือไม่ หากไม่ ต้องรีบส่งโดยด่วน และขอให้ส่งทางจังหวัดตรวจสอบร่างสุดท้าย ก่อนให้จังหวัดเวียนหนังสือให้ภาคส่วนอื่นๆทราบต่อไป
10.การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จังหวัดพังงา ได้จัดการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนงานโครงการและได้สเนอประธาน คกก ขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะแล้ว และได้รับแจ้งจากกระทรวง DE ว่าให้จังหวัดพังงาออกประกาศเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ และให้เข้าร่วมหลักสูตรการพัฒนา
11. การสร้างสวนพฤกษ์ศาสตร์จังหวัดพังงา ขณะนี้มีการดำเนินการขอใช้พื้นที่ต่อกรมธนารักษ์ เพื่อเป็นที่ศึกษาวิจัย สร้างศูนย์เรียนรู้ เพื่อเตรียมการสร้างสวนพฤกษ์ศาสตร์ในพื้นที่ด้านใน จากนี้ องค์การสวนพฤกษ์ศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตและสิ่งแวดล้อม จะเข้ามาตั้งสำนักงานในปีงบประมาณ 64 ต่อไป
” ข้อสั่งการ ขอให้รายงานความคืบหน้าในการประชุมครั้งหน้า ”