หัวหน้าอุทยานฯสั่งเข้มงวด!! พบชาวบ้านเฮโลกันเข้าไปหาเห็ดถอบ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิงจะต้องแลกบัตร
หัวหน้าอุทยานฯสั่งเข้มงวด!! พบชาวบ้านเฮโลกันเข้าไปหาเห็ดถอบ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิงจะต้องแลกบัตร
วันที่ 27 พ.ค.2562 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก นายมัญญา นาคพน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เปิดเผยว่าอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตั้งอยู่ ต.แม่ลาน อ.ลี้ จ.ลำพูน นับเป็นอุทยานแห่งชาติที่ครอบคลุมพื้นที่ถึง 3 จังหวัดด้วยกัน โดยมีธรรมชาติอันงดงาม ทั้ง ป่าเขา สายน้ำ
และทุ่งหญ้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็น แก่งก้อ น้ำตกก้อหลวง ทุ่งกิ๊ก จุดชมวิวผาแดงหลวง หรือที่เรียกกันว่า “สวิตเซอร์แลนด์ไทยแลนด์” และสถานที่อื่นๆที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง โดยพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ครอบคลุมพื้นที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา
จังหวัด ตาก รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 627,346 ไร่ หรือประมาณ 1,003.75 ตารางกิโลเมตร เป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติอย่างหลากหลาย จึงเป็นเสน่ห์แห่งธรรมชาติของ
จังหวัดลำพูน
ซึ่งในช่วงนี้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน เห็ดถอบป่าจะออกในบริเวณพื้นที่อุทยาน และมีชาวบ้านในพื้นที่และนอกพื้นที่เข้ามาหาเก็บเห็ดถอบกันจำนวนมากทั้งตลอดทั้งวัน มีการจอดรถยนต์รถจักรยานยนต์ไว้ข้างถนนกันยาวเหยียด ซึ่งทางอุทยานฯ ก็ได้มีมาตรการสำหรับผู้ที่จะเข้ามาเก็บหาเห็ดถอบต้องมีการขออนุญาตเข้าไป ซึ่ง
ต้องปฏิบัติตามกฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยการแลกบัตรเข้าพื้นที่ จอดรถให้ได้ในเฉพาะสถานที่ที่อุทยานฯ จัดเอาไว้หรือสถานที่ให้จอดได้ ห้ามทิ้งขยะและให้นำเอาขยะที่เป็นภาชนะห่ออาหารเข้าไปนำเอาออกมาด้วย เพื่อให้ชาวบ้านมีอาหารจำพวกเห็ดรับประทานกัน การเก็บหาเห็ดจะต้องเป็นพื้นที่ที่ทางอุทยานกำหนดไว้ให้เก็บหาได้เท่านั้น ส่วนพื้นที่เปาะบางที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและพืชพันธุ์ไม้ที่หายาก ห้ามเข้าไปเก็บหาเห็ดถอบโดยเด็ดขาด สำหรับเห็ดถอบที่ออกจำนวนมากในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง สาเหตุเกิดจากเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยป่าเบญจพรรณผสมป่าเต็งรัง เห็ดถอบจึงมีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมรับประทานของผู้คนทั่วไป เนื่องจากมีผู้ที่เข้ามาเก็บเห็ดเป็นจำนวนมาก ทางอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จึงได้วางมาตรการเข้มงวดสำหรับผู้ที่จะเดินทางเข้ามาในพื้นที่อุทยานฯ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบนิเวศของสัตว์ป่า และพันธุ์พืช
“ทั้งนี้เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่า ป่าอยู่ร่วมกับคน ได้อย่างสมดุลธรรมชาติ เกิดความรักความหวงแหนในป่าบ้านเกิดของตนเอง และร่วมกันอนุรักษ์ผืนป่าผืนนี้ซึ่งเป็นแหล่งอาหารเอาไว้ให้ลูกหลาน สืบไป ” นายมัญญา นาคพน กล่าวย้ำ.
ทรงวุฒิ ทับทอง
Cr. เสน่ห์ นามจันทร์