ร้อยเอ็ด ประภัตร รมต.ช่วยเกษตรฯ ลุยลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้กำลังใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พร้อมส่งเสริมสร้างรายได้หลังน้ำลดปลูกถั่วเขียว ปลูกข้าวโพดและโครงการโคขุน 1 ล้านตัว /PALANCHAI TV/ชสอท./nuk-komgrich/0817082129-
ร้อยเอ็ด ประภัตร รมต.ช่วยเกษตรฯ ลุยลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้กำลังใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พร้อมส่งเสริมสร้างรายได้หลังน้ำลดปลูกถั่วเขียว ปลูกข้าวโพดและโครงการโคขุน 1 ล้านตัว
/PALANCHAI TV/ชสอท./nuk-komgrich/0817082129-
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 22 กันยายน 2562 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจชาวร้อยเอ็ดที่ประสบอุทกภัย ที่ หอประชุมโรงเรียนเสลภูมิวิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นางนงรัตน์ คงเกษม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดร้อยเอ็ด นายทวีจงประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายสนองดลประสิทธิ์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด นายเกรียงไกร จิตธรรม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ ร่วมให้การต้อนรับ และร่วมมอบถุงยังชีพ มอบอาหารสัตว์ ให้แก่เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย มีประชาชนผู้ประสบอุทกภัยมาร่วมรับถุงยังชีพ และอาหารสัตว์ กว่า 1,000 คน
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวให้กำลังใจ และการแสดงความห่วงใยจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐบาล ที่มีแก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยทุกคน โดยรัฐบาลจะให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนหลังจากนั้น ได้เดินทางไปมอบถุงยังชีพและอาหารสัตว์ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย ที่ หอประชุมที่ว่าการอำเภอทุ่งเขาหลวง อีก จำนวน 1,000 คน เช่นเดียวกัน
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ได้มาเยี่ยมอำเภอเสลภูมิ ความเสียหายจากการรายงานนับว่าเกือบสิ้นเชิงประมาณสามแสนกว่าไร่ อย่างนั้นจะต้องฟื้นฟู อย่างแรกก็คือ จัดหาน้ำหลังจากที่น้ำลดแล้ว เพราะภาคอีสานหลังจากที่น้ำลดแล้วจะไม่มีน้ำคือจะแล้งเหมือนเดิม จะให้กรมทรัพยากรน้ำ เพื่อมาดำเนินการหาน้ำบาดาลเพื่อให้เป็นแหล่งน้ำ ซึ่งบ่อน้ำบาดาล 1 บ่อ สามารถเลี้ยงการเกษตรได้ กว่า 700 ไร่
และท่านนายกรัฐมนตรี ก็ห่วงใยว่าภายใน 120 วัน นี้ทำอย่างไรจะทำให้พี่น้องเกษตรมีเงินใช้ จึงได้คิดอีกโครงการหนึ่ง คือ ปลูกถั่วเขียว โดยให้เกษตรกรปลูกถั่วเขียวคนละไม่เกิน 10 ไร่ โดยรัฐบาลจะให้เมล็ดพันธุ์ ฟรี ไร่ละ 5 กิโลกรัม ประกันราคาซื้อให้ด้วย ซึ่งเรามีตลาดอยู่แล้ว ขณะนี้อาหารสัตว์ขาดแคลน โรงงานอาหารสัตว์ก็ได้มาทำสัญญาซื้อข้าวโพดกิโลกรัมละ 8 บาท จำนวน 1 ล้าน ตัน ก็ต้องใช้พื้นที่อีก 1 ล้านไร่ ในการที่จะดำเนินการดังนี้ ก็ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 100 วัน เกษตรกรก็จะได้เงินใช้ ถือว่าเป็นระยะสั้นและรวดเร็วทำให้พี่น้องเกษตรกร ได้รับเงินใช้ แต่พี่น้องเกษตรชาวอีสานอยากเลี้ยงวัว รัฐบาลจึงจะขอวงเงิน ธกส. ให้ ตามโครงการโคขุนล้านตัว จะขอวงเงินกู้จาก ธกส. โดยมีดอกเบี้ยร้อยละ 4 ซึ่งรัฐบาลจะจ่ายให้ 3 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกร จ่าย 1 เปอร์เซ็นต์ ให้พี่น้องเกษตรกร ครอบครัวละ 5 ตัว โดยเกษตรกรจะต้องเป็นคนเลือกซื้อเอง การเลี้ยงวัวถ้าเกิดวัวตาย หาย มีการประกันอีก ประกัน 100 บาท/ 1 ตัว/ 1 เดือน โดยโคขุนใช้เวลาเลี้ยง จำนวน 4 เดือน ก็ได้ขาย เชื่อว่าเกษตรกรมีรายได้ดี และมั่นคงอย่างแน่นอน
/PALACHAI TV/ชมรมสื่อออนไลน์IT/MOITC/0817082129-ข่าว
คมกฤช พวงศรีเคน-บริหาร/ภาพ