จันทบุรี-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ต.ขุนซ่อง จ.จันทบุรี ให้นโยบายมุ่งเน้นการสร้างที่ให้น้ำอยู่ สร้างทางให้น้ำไหล ป้องกันภัยแล้งและอุทกภัย
จันทบุรี-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ต.ขุนซ่อง จ.จันทบุรี ให้นโยบายมุ่งเน้นการสร้างที่ให้น้ำอยู่ สร้างทางให้น้ำไหล ป้องกันภัยแล้งและอุทกภัย
วันนี้ ( 24 ส.ค.63 ) ที่ห้องประชุมโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะได้เดินทางมาติดตามความคืบหน้า พร้อมรับทราบปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยนายอลงกรณ์ แอคะรัจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น กลุ่มผู้ใช้น้ำคลองวังโตนดให้การต้อนรับ สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว เป็น 1 ใน 4 โครงการในลำน้ำย่อยของลุ่มน้ำโตนด ซึ่งประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองประแกด อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด และอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว โดยในพื้นที่มักประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี กรมชลประทานจึงได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ดำเนินการศึกษาจัดทำแผนหลักในการพัฒนาแหล่งน้ำและศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี แล้วเสร็จเมื่อปี 2538 ซึ่งผลการศึกษาได้เสนอให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางจำนวน 4 แห่ง ตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองประแกด ก่อสร้างแล้วเสร็จ อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว และอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนดเสริมความมั่นคงด้านทรัพยากรแหล่งน้ำในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดย นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบแนวทางการบริหารจัดการน้ำป้องกันภัยแล้งและอุทกภัยขอให้หน่วยงานและทุกส่วนที่เกี่ยวข้องหาแนวทางวางแผนสร้างที่ให้น้ำอยู่ และ สร้างทางให้น้ำไหล ในช่วงปกติให้ท้องถิ่นต่าง ๆ สำรวจแหล่งกักเก็บน้ำในชุมชน หมู่บ้าน ออกแบบ ปร.4 / ปร.5 รอไว้หากมีโครงการจะได้หยิบยกไปดำเนินการได้ทันที ส่วนแหล่งน้ำขนาดเล็กในชุมชนท้องถิ่นสามารถขุดลอกขยายพื้นที่เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้เลย
สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถเก็บกักน้ำได้ 80.70 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์ฤดูฝน จำนวน 62,000 ไร่ สามารถส่งน้ำให้กับประชาชนได้ 1,600 ครัวเรือน // ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกฤดูฝนได้ 62,000 ไร่ ฤดูแล้ง 14,800 ไร่ // การอุปโภคบริโภค เดือนละ 420,000 ลบ. และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดให้ราษฎรทำการประมงเพื่อเป็นรายได้เสริม นอกจากนี้เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มศักยภาพความมั่นคงด้านแหล่งน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC จำนวน 100 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี โอกาสนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนด้วยการติดตามเรื่องค่าเวณคืนที่ดินแก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบแต่เงินยังมาล่าช้าเพื่อให้ประชาชนได้มีเงินไปซื้อที่ดินใหม่ และ ลงทุนประกอบอาชีพลดผลกระทบ
ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา ผู้สื่อข่าว จ.จันทบุรี
นาย พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก