“วิจารย์” นำจิตอาสาปลูกต้นรวงผึ้ง 1,010 ต้น เฉลิมพระเกียรติ ร. 10 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสร้างจิตสำนึกชุมชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มพื้นที่สีเขียวลดเกิดไฟป่าหมอกควัน
“วิจารย์” นำจิตอาสาปลูกต้นรวงผึ้ง 1,010 ต้น เฉลิมพระเกียรติ ร. 10 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสร้างจิตสำนึกชุมชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มพื้นที่สีเขียวลดเกิดไฟป่าหมอกควัน
วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 ที่อุทยานแห่งชาติแม่วาง ต.สันติสุข อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ตามโครงการต้นไม้ประจำปีของชาติ โดยปลูกต้นรวงผึ้ง ไม้มงคลประจำรัชกาลที่ 10 บริเวณสองข้างทางในพื้นที่อทุยานฯ จำนวน 1,010 ต้น รวมระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องใน
วโรกาสปีมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบามสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลกรณ์ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้
ทั้งนี้เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และส่งเสริมให้ราษฏรมีส่วนร่วมฟื้นฟูป่า มีนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นายมนัส ขันใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายสมหวัง เรืองนิวัติศัย ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่
นางดวงดาว เตชะวัฒนาบวร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วาง พร้อมข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผูู้นำชุมชน ประชาชนและนักเรียนเข้าร่วมกว่า 500 คน โดยใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง
ระหว่างเปิดงาน นายวิจารย์ พร้อมด้วยคณะ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการอุทยานแห่งชาติแม่วาง ที่ประกาศเป็นเขตอุทยาน เมื่อปี 2522 หรือ 40 ปีที่ผ่านมา
และนิทรรศการของส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า เนื่องจากพื้นที่อุทยานส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ที่มีการผลัดใบ ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อไฟ เสี่ยงเกิดไฟป่าในพื้นที่สูง จึงมีการทำแนวกันไปฟ่า สร้างฝายชะลอน้ำ และปลูก
ต้นรวงผึ้งเพิ่ม เพื่อเพิ่มพื้นทีสีเขียว ลดการเกิดไฟป่าหมอกควัน เป็นป่าต้นน้ำไหลลงอ่างเก็บห้วยโป่งจ้อ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำไว้หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรม เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคของชุมชนใกล้เคียง
นายวิจารย์ กล่าวว่า การปลูกต้นรวงผึ้ง นอกจากเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านแล้ว ยังเป็นพันธุ์ไม้ที่สวยงาม หากออกดอกจะเหลืองอร่าม ยิ่งปลูกสองข้างทางเข้าพื้นที่อุทยานฯ ยิ่งทำให้เกิดความสวยงามและร่มรื่นมากขึ้น ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอีกแห่งหนึ่ง นอกจากผาช่อที่เกิดการกัดเซาะของธรณีวิทยา มีอายุกว่า 5 ล้านปีแล้ว เชื่อว่าอีกไม่นาน จะเป็นเส้นทางที่ดึง ดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวและถ่ายภาพหรือเซลฟีเป็นที่ระลึก พร้อมกับสร้างงานและกระจายรายได้สู่ชุมชนมากขึ้นตามลำดับ.
ทรงวุฒิ ทับทอง