นัจมุดีน อูมา อดีต ส.ส.หลายสมัย “ ได้เวลาประชาชน จะเปลี่ยนแปลง” “แคนดิเดต” เลือกตั้ง นายก อบจ.นราธิวาส ต้องเป็นคนใหม่ เปิดประเด็น 9 ข้อ พัฒนาพื้นที่นราธิวาสก้าวไกล ตอบโจทย์ประชาชน
นราธิวาส/ภาพ/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ
นัจมุดีน อูมา อดีต ส.ส.หลายสมัย “ ได้เวลาประชาชน จะเปลี่ยนแปลง” “แคนดิเดต” เลือกตั้ง นายก อบจ.นราธิวาส ต้องเป็นคนใหม่ เปิดประเด็น 9 ข้อ พัฒนาพื้นที่นราธิวาสก้าวไกล ตอบโจทย์ประชาชน
เปิดมุมมองทัศนะ นายนัจมุดดีน อดีต ส.ส.หลายสมัย ระบุ ได้เวลาเปลี่ยนแปลง คนที่จะสู้ศึกเป็นนายก อบจ.นราธิวาส ควรเป็น นักพัฒนาสร้างประโยชน์ในพื้นที่ มิใช่ประโยชน์แห่งตน ต้องเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล
นายนายนัจมุดดีน อูมา อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์หลายสมัย จังหวัดนราธิวาส ได้กล่าวถึงทัศนะ การเมืองท้องถิ่น เชิงวิเคราะห์ โดยเฉพาะการเลือกตั้ง ส.อบจ.และนายก อบจ.นราธิวาส อย่างน่าสนใจ ซึ่งนับเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ประชาชนต่างวิพากษ์วิจารณ์ เพราะคาดว่า ศึกเลือกตั้ง ส.อบจ.นราธิวาส จะมีพรรคแต่ละพรรค สนับสนุน สู้ศึกการเมืองท้องถิ่น ชนิดที่ไม่สามารถจะกระพริบตาเลยที่เดียว เพราะนั้นหมายถึง ชัยชนะ ในการยึดพื้นที่ปลายด้ามขวานไทย ของแต่ละพรรคการเมืองด้วย ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน
ในปัจจุบัน นายกูเซ็ง ยะวอฮาซัน เป็นนายก อบจ.นราธิวาสหลายสมัย ครองตำแหน่งดังกล่าวกว่า 16 ปี และในครั้งนี้จะมีพรรคพลังประชารัฐซีกรัฐบาล ให้การสนับสนุนนายกกูเซ็ง ที่จะลงสมัครรักษาตำแหน่ง เพื่อเป็นนายก อบจ.นราธิวาส อีกสมัย
นัจมุดดีน เปิดเผยว่าสมาชิกหลายพรรคการเมืองในจังหวัดนราธิวาส เห็นตรงกันว่าควรจะมีการเปลี่ยนแปลงนายก อบจ.นราธิวาส เพราะนายกคนปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งมา 3 สมัยแล้ว ปัญหาความเดือดร้อนของชาวนราธิวาสมีมากมาย ซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด ดังนั้นประชาชนต้องกล้าตัดสินใจเปลี่ยนแปลง พร้อมกับ กล่าวถึงผู้ที่จะลงสมัคร นายก อบจ.นราธิวาส ควรจะเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติแบบไหน เพื่อที่จะนำพาชาวนราธิวาส ให้มีความมั่นคง อย่างยังยืน
ประการที่ 1 คือการปรับปรุงเรือเฟอร์รี่ข้ามชายแดนไทย-มาเลเซียที่อำเภอตากใบ ให้มีความทันสมัยและพร้อมใช้งานตลอดเวลา
ซึ่งก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้จัดซื้อเรือแพขนานยนต์ หรือเรือเฟอร์รี่ ราคาประมาณ 30 ล้านบาท แต่ อบจ.นราธิวาส ในยุคสมัยของนายกูเซ็ง ทำหน้าที่เป็นนายก ไม่พร้อมที่จะรับมอบ ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสในขณะนั้น ต้องส่งมอบเรือให้กับ อบจ.สงขลาใช้ประโยชน์จนทุกวันนี้ ทำให้ชาวนราธิวาสขาดโอกาสในการค้าและพัฒนาชายแดน
ประการที่ 2 จังหวัดนราธิวาสมีพรมแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย 5 อำเภอ ปัจจุบันมี 3 อำเภอที่มีด่านพรมแดนที่ อ.ตากใบ อ.สุไหงโกลก และ อ.แว้ง ขณะที่ อ.จะแนะ และ อ.สุคิริน ติดพรมแดนมาเลเซียเช่นกันแต่ยังไม่มีด่านพรมแดน ทั้งที่มีเส้นทางทั้งสองฝั่งเชื่อมต่อกันได้ไม่ห่างไกลมากนัก และเป็นเส้นทางที่สามารถสัญจรตรงไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ในระยะทางเพียง 6 ชม. เท่านั้น ทำให้ชาวมาเลเซียในรัฐเปรัค ประเทศมาเลเซียสามารถเดินทางมาขึ้นเครื่องบินไปกรุงเทพฯได้ที่สนามบินนราธิวาส และต้องผลักดันสนามบินนราธิวาสให้เป็นสนามบินนานาชาติให้ได้
ประการที่ 3 ต้องผลักดันให้มีสะพานมิตรภาพไทย-มาเลเซียคู่ขนานที่ อ.สุไหงโกลก เพื่อรองรับการเดินทางสัญจรของนักท่องเที่ยวที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ประการที่ 4 ผลักดันด่านชายแดนบูเก๊ะตา ที่ อ.แว้ง ให้ก่อสร้างอย่างเต็มรูปแบบเช่นฝั่งมาเลเซียได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจากการที่ไทยขอให้มาเลเซียเปิดด่าน แต่ด่านฝั่งไทยกลับมีปัญหามาก
ประการที่ 5 สร้างตลาดกลางผลไม้ เพื่อรองรับผลผลิตการเกษตร เช่น ทุเรียน เงาะ ลองกอง ให้สามารถขยายตลาดให้เกษตรกรออกไปได้กว้างขึ้น
ประการที่ 6 ต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งโรงเรียนภาครัฐและเอกชน ตาดีกา สถาบันปอเนาะ พร้อมกับส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ ให้มีความทันสมัย อาทิ การจัดตั้งศูนย์ติวเตอร์ ในภาควิชาพื้นที่ฐานทางวิชาการ โดยไม่คิดมูลค่า (เรียนฟรี) การสนับสนุนทางด้านศักยภาพ (อาคาร) เหมือนกับ อบจ.ยะลา ทำมาแล้วเป็นรูปธรรม
ประการที่ 7 พัฒนาคุณภาพการกีฬา ภายในจังหวัดให้เยาวชนสามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น การสร้างสนามกีฬา ให้มีความทันสมัย เหมือน จังหวัดสงขลา ยะลา และปัตตานี
ประการที่ 8 ต้องร่วมมือกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทำบันทึกข้อตกลง หรือ MOU ในการเป็น “บ้านพี่เมืองน้อง” เพื่อร่วมมือส่งเสริมศักยภาพ เมืองชายแดนทางด้านวัฒนธรรม และด้านอื่นๆ อันจะเป็นประโยชน์ในทุกๆด้าน
ประการที่ 9 อบจ.ต้องลงนาม MOU กับมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) ในการยกระดับการพัฒนาพื้นที่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ งานวิจัยที่ทันสมัยในอนาคต เช่น เป็นศูนย์การแพทย์ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประตูสู่อาเซียนต่อไป
อนึ่ง นายนัจมุดดีน อูมา กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อปลายปี 2562 กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่ง ยุบสภา อบจ.นราธิวาส ทำให้ สมาชิกสภาจังหวัด หรือ สจ.ทั้งหมดต้องสิ้นสภาพลง และได้มีการแต่งตั้ง ข้าราชการประจำ และอดีตข้าราชการ ไปทำหน้าที่ สจ.แทน ทำให้พี่น้องประชาชนชาวนราธิวาส ไปอย่างน่าเสียดาย ต้องขาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย อันเป็นเพราะ สภา อบจ.มีความขัดแย้ง กับทีมบริหาร และก่อนหน้านั้น ศาลอาญาคดีทุจริต ได้สั่งฟ้อง เจ้าหน้าที่ อบจ.รวม 17 คน คดีระหว่างพิจารณาของศาล
ฉะนั้น การแข่งขัน เพื่อชิงตำแหน่งนายก อบจ.นราธิวาส ที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้ ผู้สมัคร นายก อบจ. ต้องมีวิสัยทัศน์ จะนำสู่เป็นนโยบาย ประชาชนจะได้ประโยชน์ เลือกคนดี เป็นนักพัฒนาตัวจริง เพื่อประโยชน์ประชาชนและพื้นที่สูงสุด ไม่ใช่พอได้ตำแหน่งนายก อบจ.นั่งแช่ในตำแหน่ง แต่ไม่มีนโยบาย การพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ไม่ตอบโจทย์ พี่น้องประชาชน และไม่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต อยู่ดี กินดี และเกิดความมั่นคงในชีวิต “ถึงเวลาที่ประชาชนต้องตัดสินใจ พร้อมเปลี่ยนแปลงแล้ว นายก อบจ.นราธิวาสต้องเป็นคนใหม่” นายนัจมุดดีน กล่าวทิ้งท้าย