ชลบุรี-นายกเมืองพัทยาแสดงวิสัยทัศน์เมืองพัทยาสู่เมืองภาพยนตร์แห่งยูเนสโก้ ปลุกอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ดันใช้ Solf Power สร้างความยั่งยืน
นายกพัทยาแสดงวิสัยทัศน์เมืองพัทยาสู่เมืองภาพยนตร์แห่งยูเนสโก้
ชลบุรี-นายกเมืองพัทยาแสดงวิสัยทัศน์เมืองพัทยาสู่เมืองภาพยนตร์แห่งยูเนสโก้ ปลุกอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ดันใช้ Solf Power สร้างความยั่งยืน
นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา เปิดเผยว่า การนำร่องเมืองพัทยาสู่การเมืองแห่งภาพยนตร์เริ่มต้นจากยุคนายอิทธิพล คุณปลื้ม ได้ดำรงตำแหน่งนายกเมืองพัทยา และนางสุกุมล คุณปลื้ม ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประมาณปี 2555 หรือประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา โดยทางสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้เสนอให้เมืองพัทยาเป็นเมืองแห่งภาพยนตร์ประเภทเมืองวัฒนธรรมเครือข่ายเมืองเมืองวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เมืองแห่งภาพยนตร์ต่อยูเนสโก้ ซึ่งเดิมมีเพียง 2 เมือง คือ เมืองแบรดฟอร์ด สหราชอาณาจักร และเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
และการเสนอชื่อเมืองพัทยาเป็นแห่งภาพยนตร์มีความเป็นไปได้สูงเนื่องด้วยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม จากศักยภาพท้องถิ่นที่มีการขอสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ไม่ต่ำกว่า 300 เรื่องต่อปี โดยในปัจจุบันพัทยามีโรงภาพยนตร์ขนาดมาตรฐานรวมทั้งสิ้น 35 โรง มีสถาบันการศึกษาด้านภาพยนตร์ 2 สถาบัน ถือว่ามีความเหมาะสมในเรื่องทัศนียภาพและการเดินทาง และเมืองพัทยาถือเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิภาคตะวันออก ด้วยจุดแข็งที่เป็นอำนวยความสะดวกครบครันทำให้เมืองพัทยาเป็นเป้าหมายของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยมี ประเทศอินดียมาเป็นอันดับหนึ่ง และจีนตามมาเป็นอันดับสอง
ทั้งนี้ เมืองพัทยาได้ดำเนินการตามแนวทางของรัฐบาลในเรื่องของการใช้ Solf Power ความเป็นไทย การส่งเสริมให้เมืองพัทยาเป็นเมืองแห่งภาพยนตร์ก็ถือเป็นการสร้าง Solf Power ผ่านแผ่นฟิล์มมภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน ซึ่ง ณ ตอนนี้ อยู่ในระหว่างการพิจารณาเตรียมความพร้อมเพื่อเสนอเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ประเภทเมืองแห่งภาพยนตร์ตามแนวทางขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ที่ตอบโจทย์สำหรับตลาดอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวควบคู่กันต่อไปด้วย
อย่างไรก็ตาม เมืองพัทยาได้จัดทำการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการขับเคลื่อนเมืองพัทยาสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ของยูเนสโก้ร่วมกับ 12 องค์กรที่เกี่ยวข้องภายใต้กรอบการทำงานในนระยะ 5 ปี โดยบูรราการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ หรือ City of Film ซึ่งนอกเหนือจากทั้งหมดที่กล่าวมาสิง่ที่จะตามมาคือเรื่องของการสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ที่ยัง่ยืน เพราะจะมีอาชีพอื่นๆ ตามมาอีกมาก อาทิ ช่างแต่งหน้า ช่างเสริมสวย ช่างทำผม นักแสดง นักเขียนบทภาพยนตร์ ช่างตัดต่อ รวมถึงธุรกิจท้องถิ่นก็จะพลอยได้รับอานิสงค์ไปด้วยเช่นกัน ทั้ง ที่พัก และโรงแรม