เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดร่วมกับชุมชนโรงเรียนเมืองร้อยเอ็ดรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดร่วมกับชุมชนโรงเรียนเมืองร้อยเอ็ดรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0817082129-ข่าว
เมื่อเร็วๆนี้ เวลา 08.00-12.00น. ที่ซอย4ถนนรณชัยชาญยุทธ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ต.ในเมือง อ.เมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อนเอ็ด ดร.วัฒนพงษ์ ชิตทรงสวัสดิ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เป็นประธาน พร้อมด้วยนายวิวัฒน์ ธนะแพสย์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
นายฉัตรชัย นวลเพ็ญ ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
นายศรราม นามวงษ์ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ออกรณรงค์
โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ2564 โดยการดำเนินงานของ นาง สุดใจ ดวงตั้ง ประธานชุมชนและอสม.ชุมชนโรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด อสม. ประชาชนในชุมชนฯ
กิจกรรมประกอบด้วย ทำความสะอาดบ้านเรือนแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะโรคไข้เลือดออก พ่นสารเคมีกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะโรคไข้เลือดออก
ของชุมชนหลายร้อยครัวเรือน
โดยที่โรคไข้เลือดออกเกิดจากไวรัสเดงกี(Dengue Virus)ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ การติดเชื้อครั้งแรกมักจะมีอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่ 2 โดยเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก อาการมักจะรุนแรงถึงขั้นเลือดออกหรือช็อคหรือเสียชีวิต โรคนี้พบมาก ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
โรคไข้เลือดออกติดต่อจากคนสู่คน โดยมียุงลาย (Aedes aegypti) เป็นพาหะที่สำคัญ ยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุงและสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกมันกัดได้
ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ภายในบ้านและบริเวณบ้าน มักจะกัดเวลากลางวัน แหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำใสที่ขังอยู่ตามภาชนะเก็บน้ำต่างๆ เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋อง หม้อ กระถาง ยางรถ เป็นต้น
โดยทั่วไปโรคไข้เลือดออกจะพบมากในฤดูฝนเนื่องจากยุงลายมีการแพร่พันธุ์มากในฤดูฝน แต่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ อาจพบโรคนี้ได้ตลอดปี
การรักษา
เนื่องจากยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไวรัสเดงกี การรักษาตามอาการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยให้ยาพาราเซทตามอลในช่วงที่มีไข้สูง ห้ามให้ยาแอสไพริน ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้ยาแก้คลื่นไส้และให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผลไม้ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ป้องกันภาวะช็อคได้ ระยะที่เกิดช็อคส่วนใหญ่จะเกิดพร้อมๆกับช่วงที่ไข้ลดลง ผู้ปกครองควรทราบอาการก่อนที่จะช็อค คือ อาจมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่ายหรือซึมลง มือเท้าเย็นพร้อมๆกับไข้ลดลง หน้ามืด เป็นลมง่าย หากเป็นดังนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
การป้องกัน
ป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนในมุ้งแม้ในเวลากลางวัน
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน รวมทั้งบริเวณรอบๆบ้าน
ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะที่ขังน้ำทุก 7 วัน เช่น แจกัน
กำจัดภาชนะแตกหักที่ขังน้ำ เช่น ยางรถเก่า กระถาง
เลี้ยงปลากินลูกน้ำในอ่างบัวหรือแหล่งน้ำอื่นๆ
ปิดฝาโอ่งหรือภาชนะอื่นๆให้มิดชิดหรือใส่ทรายเคมี กำจัดลูกน้ำในภาชนะที่เก็บน้ำไว้ใช้ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูลงในจานรองขาตู้กับข้าวสัปดาห์ละครั้ง
ใส่ทรายอะเบต 1% ลงในตุ่มน้ำและภาชนะกักเก็บน้ำในอัตราส่วน 10 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตรควรเติมใหม่ทุก 2-3 เดือน น้ำที่ใส่ทรายอะเบตสามารถใช้ดื่มกินได้อย่างปลอดภัย
/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0817082129-ข่าว
/สุดใจ ดวงตั้ง/ประธานชุมชนโรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด-ภาพ