โควิด19 ระบาดหนักในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง แต่ความเข้าใจในการดูแลและการเข้าถึงระบบ ยังขาดการประชาสัมพันธ์ แต่โชคดีที่ผู้ดูแลคนป่วยได้รับความรู้จากสื่อต่างๆ จึงสามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงแล้วติดเชื้อโควิด19 ได้อย่างปลอดภัย

โควิด19 ระบาดหนักในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง แต่ความเข้าใจในการดูแลและการเข้าถึงระบบ ยังขาดการประชาสัมพันธ์ แต่โชคดีที่ผู้ดูแลคนป่วยได้รับความรู้จากสื่อต่างๆ จึงสามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงแล้วติดเชื้อโควิด19 ได้อย่างปลอดภัย

สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ “โอไมครอน” ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง เราจะต้องดูแลตัวเองตามมาตรการป้องกันโควิดขั้นสูงสุดอย่างเคร่งครัด และเริ่มลุกลามไปยังผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยติดเตียงและเด็กเล็ก บางรายผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงหรือเด็กเล็กไม่เคยออกจากบ้านไปไหนเลย แต่กลับได้รับเชื้อโควิด19 ซึ่งสาเหตุของการนำพาโรคมาจากคนดูแล และคนในครอบครัว แต่ปัญหาใหญ่สำหรับหลายครอยครัวที่มีสูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงหรือเด็กเล็กคือหลังได้รับเชื้อแล้ว ทุกคนต่างทำอะไรไม่ถูก ไม่รู้จะแจ้งใคร ทำให้เข้าถึงระบบการรักษาที่ล่าช้า บางรายต้องนำผู้สูงอายุป่วยติดเตียงขึ้นรถกระบะ ส่งตัวไปยังสถานที่รักษา เมื่อไปถึงต้องให้ผู้ป่วยนอนรอคิวที่ยาว และร้อน ทำให้สร้างความทุกข์ใจและความเป็นห่วงญาติคนไข้เป็นอย่างมาก
ซึ่งจากเหตุการณ์ข้างต้น ผู้สื่อข่าวได้เดินทางมายังซอยทุ่งน้อย ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ได้พบกับนางจินตนา อรุณวงษ์ อายุ 56 ปี ลูกสาว ที่กำลังป้อนข้าว ป้อนน้ำให้กับคุณยายโสม อรุณวงษ์ อายุ 86 ปี ที่ป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มานานกว่า 2 ปี และได้เชื้อโควิด19 จากน้องสาวที่มาดูแล ซึ่งหลังจากตรวจพบเชื้อจากการตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ทางญาติได้ส่งตัวน้องสาวคุณยายเข้าสู่ระบบการรักษา และได้ตรวจ ATK ให้กับคุณยายในช่วงแรกทางญาติมีความสับสน ไม่รู้จะปรึกษาใคร แต่เพื่อนบ้านได้แจ้งว่าต้องติดต่อรพ.สต.ใกล้บ้าน จึงได้นำคุณยายขึ้นรถไปรพ.สต. ทางหมอที่ประจำรพ.สต.ได้ให้คำแนะนำว่าคุณยายอายุมากและเป็นผู้ป่วยติดเตียงจะต้องส่งตัวไปยังโรงพยาบาลสนามอบจ.จันทบุรี เพื่อทำการรักษาและคัดกรองโรค แต่ด้วยทางบ้านไม่มีรถยนต์จึงต้องประสานขอรถจากหน่วยงานราชการมารับ แต่ด้วยอายุของคุณยายและประกอบกับคุณยายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ไปนอนรอรับการตรวจที่โรงพยาบาลสนามอบจ.ต้องรอคิวนาน และอากาศที่ร้อนจัด จึงได้สอบถามกับทางเจ้าหน้าที่พยาบาล โทรประสานเข้าระบบ 1330 ซึ่งทาง 1330

ได้แนะนำให้นำคุณยายกลับมาที่บ้านและจะประสานงานโรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี มาประเมินอาการของคุณยายและส่งตัวคุณยายเข้าสู่ระบบต่อไป ทำให้ญาติเข้าใจระบบของการทำงานดูแลคนไข้ของภาครัฐมากขึ้น
ซึ่งหากท่านติดเชื้อโควิด19 ให้โทร 1330 ทางระบบจะสอบถามข้อมูลให้คำแนะนำในการเข้าระบบการรักษาต่อไป
ซึ่งหลังจากคุณแม่ที่ป่วยติดเตียงและชิดเชื้อโควิด19 กลับมาบ้าน สิ่งที่สำคัญคือการอยู่ร่วมกันในครอบครัว ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อสามารถดูแลคนป่วยติดเชื้อได้ด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น ล้างมือและแขนก่อนและหลังสัมผัสสิ่งของต่างๆของคนไข้ หากเป็นการป้อนอาหารและน้ำคนไข้ หลังป้อนอาหารเสร็จก็รีบล้างมือ ล้างแขน และล้างภาชนะใส่อาหารทันที ส่วนห้องพักของผู้ป่วย ให้ใช้การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อและเช็ดถูทำความสะอาด หลังเสร็จให้อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที แค่นี้เราก็สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้ป่วยโควิด19 ได้แล้ว

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี
พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก