ผู้บัญชาการกองพล 15 รุดเยี่ยม ให้กำลังใจ กำลังพล ชุดประสานงาน หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 (คอมมิวนิสต์มาลายา) ไม่ประมาทสถานการณ์หนุนส่งเสริม การสร้างงาน สร้างรายได้ พัฒนางานคุณภาพชีวิตสมาชิก สู้วิกฤติโควิค-19
นราธิวาส/ภาพ/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ
ผู้บัญชาการกองพล 15 รุดเยี่ยม ให้กำลังใจ กำลังพล ชุดประสานงาน หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 (คอมมิวนิสต์มาลายา) ไม่ประมาทสถานการณ์หนุนส่งเสริม การสร้างงาน สร้างรายได้ พัฒนางานคุณภาพชีวิตสมาชิก สู้วิกฤติโควิค-19
วันที่ 19 พฤษภาคม 2564 . พลตรีไพศาล หนูสังข์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่15 พร้อมด้วยคณะ ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจ กำลังพล ชุดประสานงาน หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา พร้อมทั้ง ได้สอบถาม ปัญหา ข้อขัดข้อง ในการปฎิบัติงาน และ สถานการณ์ความปลอดภัยในพื้นที่ ตลอดจนร่วมประชุม ปรึกษา หารือ การพัฒนาคุณชีวิต ความเป็นอยู่ แนวทางการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่พี่น้องสมาชิกหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า Covid-19 โดยมี พันโท พัศวีร์ โปชะดา ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่152 , พันโท จตุพล ศรีเกตุ รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 47 , ผู้ใหญ่ , เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ,กำลังพลชุดประสานงานฯ และ สมาชิกหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 ร่วมให้การต้อนรับ
โดย พลตรีไพศาล หนูสังข์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่15 ได้สั่งการเน้นย้ำ เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้าน การเข้าเวรยามรักษาการณ์ การปฎิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท ต้องตื่นตัวอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเป้าหมาย คำนึงถึงความปลอดภัยของพี่น้องสมาชิกหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 เป็นสำคัญ พร้อมทั้งการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และดูแลความเป็นอยู่ของราษฎร เพื่อให้สามารถ ดำรงชีวิต แบบพึ่งอาศัยซึ่งกันและกัน ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เชิงระบบนิเวศน์ คน สัตว์ ป่าไม้ เป็นที่พึ่งของกันและกัน เน้นการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ทำกินเป็นสำคัญ จากนั้น พลตรีไพศาล หนูสังข์ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมพร้อมทั้งให้ กำลังใจ สมาชิกกลุ่มจักสานไม้ไผ่ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 เป็นสินค้า OTOP ประจำตำบลบาละ การนำไม้ไผ่ วัตถุดิบ ในท้องถิ่น มาพัฒนาต่อยอด พร้อมทั้งสั่งการหน่วยทหารในพื้นที่จัดชุดวิทยากร มาสอนลวดลายจักสานเพิ่มเติม จนให้ก่อเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ของหมู่บ้าน ฯ เป็นสร้างรายได้เสริมให้แก่สมาชิกหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 ซึ่งประกอบอาชีพหลักได้แก่ การทำเกษตรกรรม การปลูกยาง การปลูกผลไม้ตามฤดูกาล และพืชผักสวนครัว ได้อีกช่องทางหนึ่ง ทั้งนี้ พลตรีไพศาล หนูสังข์ได้เยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 และ เดินป่า เพื่อศึกษา และส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เยี่ยมชมพันธุ์ไม้ ท้องถิ่นหายาก และต้นพริกไทยที่อายุ มากกว่า200 ปี สนับสนุนการปลูกเห็ดหลินจือ พืชเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตลอดจนมอบของบริโภค และเงินแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ให้แก่ชุดประสานงาน หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฎิบัติงานต่อไป
หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา จัดตั้งขึ้นจากการที่พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ได้ยุติการต่อสู้ด้วยอาวุธและสลายกองทัพออกมา เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ตามข้อตกลงในการลงนามสัญญาสันติภาพ ๓ ฝ่าย เมื่อ 2 ธันวาคม 2532 กองทัพภาคที่ 4 โดยกองพลทหารราบที่ 15 ได้จัดทำโครงการรับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยขึ้น เพื่อรองรับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย โดยมีระยะเวลาของ โครงการ 6 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2533 ถึงปีงบประมาณ 2538 โดยจัดตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้น 4หมู่บ้าน เรียกว่า หมู่บ้านรัตนกิตติ 1, 2, 3, และ 4 ต่อมา ศาสตราจารย์ดอกเตอร์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันจุฬาภรณ์ ทรงมีความประสงค์จะทำการพัฒนาโครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ในพื้นที่จังหวัด ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เพื่อให้เกิดความมั่นคงในพื้นที่ตามแนวชายแดน จึงได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ทรงรับหมู่บ้านรัตนกิตติทั้ง 4 หมู่บ้าน เข้าร่วมโครงการของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และทรงพระราชทานชื่อหมู่บ้านใหม่เป็นหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9,10 ,11และ 12 เมื่อ 28 มิถุนายน 2536 สำหรับหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 มีที่ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา