พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำชึครั้งที่1ปี2565 ที่จ.ขอนแก่น
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำชึครั้งที่1ปี2565 ที่จ.ขอนแก่น
/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว
เมื่อวันนี้ ตั้งแต่เวลา10.30 น.พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมมอบนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยคณะกรรมการลุ่มน้ำ และการอบรม “คณะกรรมการลุ่มน้ำและเครื่องมือขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ” ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำทั่วประเทศ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัด คณะกรรมการลุ่มน้ำทั้ง 22 ลุ่มน้ำ และหน่วยงานท้องถิ่น เข้าร่วมรับฟังการมอบนโยบาย ณ โรงแรมโฆษะ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ทั้งนี้นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้นายสนอง ดลประสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด และนายจิรศักดิ์ มงคลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานร้อยเอ็ด ร่วมประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำชี ครั้งที่ 1/2565 โดยมีนายอร่าม โล่ห์วีระ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ได้รับการคัดเลือกเป็นรองประธานคนที่ 1 เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำชี แทนผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น/ประธานคณะกรรมการลุ่มน้ำชี มีการประชุมตั้งแต่เวลา 08.30 น.
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันเรามีคณะกรรมการลุ่มน้ำครบทั้ง 22 ลุ่มน้ำแล้ว ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ และองค์กรผู้ใช้น้ำ ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชยกรรม ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถสะท้อนแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับลุ่มน้ำ จนถึงระดับประเทศ สอดคล้องตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้สัมฤทธิผลโดยเร็ว ทำให้เกิดความมั่นคงด้านน้ำของประเทศได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำให้คณะกรรมการลุ่มน้ำเร่งดำเนินการจัดทําแผนแม่บทลุ่มน้ำให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศ โดยบูรณาการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ครอบคลุมในทุกมิติ พร้อมจัดทําแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม ตลอดจนบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะน้ำท่วมโดยดำเนินการร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการจัดทําระบบเตือนภัยน้ำท่วม ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพอากาศและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าและเตรียมการให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ คณะกรรมการลุ่มน้ำยังต้องให้ความเห็นต่อแผนงานและโครงการที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้ง 6 ด้าน และแผนพัฒนาจังหวัด โดยใช้เครื่องมือกลไกระบบบูรณาการแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ (Thai Water Plan: TWP) รวมทั้งดำเนินการร่วมกับทุกหน่วยงานด้านน้ำและกรมประชาสัมพันธ์ ในการส่งเสริมและรณรงค์การสร้างจิตสํานึกให้กับประชาชนในเรื่องทรัพยากรน้ำทุกด้าน ตลอดจนประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่องด้วย
/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0885730542-ข่าว