พะเยา หนึ่งเดียวล้านนา ประเพณี สละสลุงดำหัวใส่สะตวง วันปากปี
พะเยา หนึ่งเดียวล้านนา ประเพณี สละสลุงดำหัวใส่สะตวง วันปากปี
วันที่ 16 เม.ย 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลแม่ใส อ.เมือง จ.พะเยา สืบทอดประเพณีเก่าแก่ล้านนาทำสะตวงเพื่อให้ ชาวบ้านได้สละสลุงดำหัวใส่สะตวง ในวันปีใหม่เมืองหรือวันสงกรานต์ ที่ทำสืบทอดกันมา ยาวนาน ซึ่งแต่ละปีในวันสงกรานต์ หลังวันพญาวันคือวันที่ 16 เมษายน(วันปากปี) ชาวบ้าน จะช่วยกันเตรียม กาบกล้วย ดินเหนียว กระดาษ ขาว กระดาษแดง ข้าวเหนียวปลาแห้ง ผัก ต่างๆอาทิเช่นผักโขม ใบชะพลู ใบหนาดใบหนาม กล้วย อ้อย มะเขือ ฯ ซึ่งเป็นพืชมงคลที่ช่วยขจัดปัดเป่าเอาสิ่งชั่วร้าย ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ตำบลแม่ใส ได้ทำพิธีดังกล่าวสืบทอดยาวนานกว่า 100 ปี จนถึงปัจจุบัน
พ่อหนานทอง ชำนาญ พ่ออาจารย์วัดแม่ใส กล่าวว่า การทำสะตวงเพื่อสละสลุงดำหัวใส่สะตวง จะทำกันหลังวันพญาวันคือวันที่ 16 ของปีใหม่เมือง(วันปากปี)
ซึ่งชาวบ้านจะ นำน้ำส้มป่อย เสื้อผ้า และ สัตว์ ที่จะนำมาปล่อย เคราะห์ เช่น ปลา หอยฯ นำมา วางพร้อมกันในพระวิหาร ของวัดแล้วให้ทางพระเจริญพุทธมนต์ และชาวบ้านส่วนหนึ่งก็จะช่วยกันทำสะตวงที่นำกาบกล้วยดินเหนียว หมาก พลู กระดาษขาวกระดาษแดง พืชผักที่เป็นมงคล ข้าวเหนียว ปลาแห้ง กล้วน อ้อย ผักส้ม ผักหวาน หลังจากนั้นนำกาบกล้วยมาทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม และปั้นดินเหนียวเป็นรูปวัวควาย เป็ด ไก่ และสัตว์ ตามราศีเกิด สัตว์ในตำนาน เมื่อเสร็จแล้วนำผักที่ใช้มีดสับแล้วนำมาใส่ในกาบกล้วยที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าสะตวงและตระกล้าที่สานจากไม้ไผ่ เสร็จแล้วจึงนำไปตั้งไว้ที่หน้าวัดทั้ง 6 ตระกล้า 6 ทิศ เพื่อให้ชาวบ้านพาลูกพาหลาน ใช้น้ำส้มป่อยดำหัวลงที่สะตวงครบทั้ง 6 ทิศ ซึ่งวิธีดังกล่าว เป็นพิธีกรรมเก่าแก่ที่ช่วยขจัดปัดเป่าเคราะห์ร้ายให้กลายเป็นดี และปกปักรักษาลูกหลานที่จะเดินทางไปทำงานหลังจากเสร็จวันสงกรานต์ เมื่อชาวบ้านสละสลุง ดำหัวใส่สะตวงเสร็จ ก็จะนำปลา-หอย ฯที่ทำพิธีเสร็จปล่อยลงแม่น้ำ และทางคณะกรรมวัดก็จะนำสตวงทั้ง 6 ไปไว้ท้ายหมู่บ้าน ต่อไป