(มีคลิบ) “กรมชลประทาน” ติดตามการจัดทำแผนปรับปรุงอ่างเก็บน้ำตามแนวพระราชดำริมั่นใจหลังได้แผนการพัฒนา สามารถแก้แล้งซ้ำซาก มีน้ำให้ชาวสวนลำไยนับหมื่นไร่ ได้ใช้อย่างยั่งยืน

“กรมชลประทาน” ติดตามการจัดทำแผนปรับปรุงอ่างเก็บน้ำตามแนวพระราชดำริมั่นใจหลังได้แผนการพัฒนา สามารถแก้แล้งซ้ำซาก มีน้ำให้ชาวสวนลำไยนับหมื่นไร่ ได้ใช้อย่างยั่งยืน

วันที่ 15 มกราคม 2563 นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการจัดทำแผนการพัฒนาและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และอ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ณ สำนักงานโครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จฯ บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยปุ๊ตอนบน อ.จอมทอง อ.เชียงใหม่ ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.จอมทอง จ. เชียงใหม่ สื่อมวลชนสัญจรครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 14 -15 ม.ค.2563

วันที่ 15 มกราคม 2563 นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการจัดทำแผนการพัฒนาและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และอ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ณ สำนักงานโครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จฯ บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยปุ๊ตอนบน อ.จอมทอง อ.เชียงใหม่ ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.จอมทอง จ. เชียงใหม่ สื่อมวลชนสัญจรครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 14 -15 ม.ค.2563


ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 กล่าวว่า โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีแหล่งเก็บกักน้ำที่ก่อสร้างมานานถึง 36 ปี โครงการฯ ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำ 22 แห่ง บ่อบาดาล 42 บ่อ สระเก็บน้ำ 24 แห่ง ประตูระบายน้ำ 4 แห่ง และสถานีสูบน้ำจากแม่น้ำปิงอีก 8 แห่ง สามารถสนับสนุนพื้นที่เกษตรกรรมได้ 2 จังหวัด 3 อำเภอ 4 ตำบล ประกอบด้วย ต.บ้านโฮ่ง ต.หนองปลาสวาย อ.บ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ต.บ้านแปะ ต.แม่สอย อ.จอมทอง และ ต.บ้านตาล อ.ฮอด จังหวัดเชียงใหม่

สภาพโดยรวมในปัจจุบันอ่างเก็บน้ำชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก บางแห่งมีปัญหาการรั่วซึมจึงไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ บางแห่งตัวอ่างมีลักษณะตั้งฉากกับแนวฝนในพื้นที่ทำให้ไม่สามารถเก็บน้ำได้เต็มความจุ รวมถึงหัวงานบางแห่งไม่มีอาคารประกอบและระบบส่งน้ำเดิมที่ใช้อยู่เกิดการชำรุดและใช้งานได้ไม่ดี ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความจุอ่างที่มีอยู่ ส่งผลให้ในพื้นที่ทั้ง 4 ตำบล ประสบปัญหาภัยแล้งเกือบทุกปี

“กรมชลประทานเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ จึงมอบหมายให้ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท โพธิศิรินทร์ ไทยคอนซัลแต๊นท์ จำกัด และ บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด ทำการศึกษาหาแนวทางปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้งานได้ดังเดิม โดยการจัดทำแผนแม่บทการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำในภาพรวมทั้งหมด และจะคัดเลือกโครงการมาทำการศึกษาความเหมาะสมจำนวน 1 โครงการ เพื่อนำไปดำเนินการให้เกิดผลโดยเร็ว โดยการศึกษาครั้งนี้จะจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียทุกขั้นตอน จำนวน 4 ครั้ง เพื่อให้ได้แผนการปรับปรุงที่เหมาะสมทั้งด้านวิชาการและเป็นที่ยอมรับของประชาชน โดยกรมชลประทานและกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว 2 ครั้ง” ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 กล่าว

ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 กล่าวต่อว่า การจัดทำแผนแม่บทตามโครงการฯ นี้ มีกรอบเวลาในการทำงานรวม 540 วัน ซึ่งจะสิ้นสุดการดำเนินการตามสัญญาจ้างในวันที่ 30 ก.ย. 63 นี้ โดยทำการศึกษาและจัดทำแผนหลักการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ศึกษาและจัดทำรายงานความเหมาะสม และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กระบวนการทั้งหมดแล้วเสร็จภายในกันยายนนี้ ซึ่งจะได้แนวทางการพัฒนาพื้นที่ทั้งโครงการเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เป็นไปตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สามารถบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำได้

“พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ หลังจากที่ทำการศึกษาเสร็จ แผนหลักที่ว่านั้นจะตอบโจทย์การแก้ปัญหาภัยแล้ง ในพื้นที่บริการทั้ง 4 ตำบลนี้ได้ในระดับที่ประชาชนในพื้นที่ต้องการ จะมีรูปแบบในการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำทั้ง 22 แห่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงระบบต่างๆ อาทิ แก้ไขการรั่วซึมของอ่างฯ ปรับปรุงอาคารประกอบที่ชำรุดทรุดโทรม การเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างฯ โดยการยกระดับสันเขื่อนและทางระบายน้ำล้น และการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำใหม่ในบริเวณอ่างเก็บน้ำเดิม เหล่านี้ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียที่เข้าร่วมการประชุมเห็นด้วยกับแนวทางการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำและพร้อมที่จะจัดตั้งกลุ่มเพื่อร่วมกันบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลจากการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำตามที่กล่าวมา จะทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอีกราว 9 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมปริมาณน้ำทั้งหมดเก็บได้ราว 20 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรมได้ประมาณ 15,000 ไร่ ซึ่งตรงนี้จะตอบโจทย์การแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากในพื้นที่อย่างเช่นที่ประสบอยู่ในปีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม” นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 กล่าวในที่สุด.

ทรงวุฒิ ทับทอง