รองอธิบดีกรมการพัฒนาชมชุมตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงปี2564 กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา ที่อำเภอขุนหาญ
รองอธิบดีกรมการพัฒนาชมชุมตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงปี2564 กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา ที่อำเภอขุนหาญ
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30 น. ที่บ้านตาเอกใหม่ ตำบลกันทรอม อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชมชุม นางสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ประธานมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ หรือ Earth Safe Foundation และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตารีย์ ไตรสรณปัญญา (ดร.จุ๋ม) คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2564 กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา ของนายไพโรจน์ มีวงศ์ เกษตรกรบ้านตาเอกใหม่ หมู่ 8 ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ โดยมีนางสาวอมร นามบุตร ปลัดอาวุโสอำเภอขุนหาญ รักษาราชการนายอำเภอขุนหาญ นายชัยยงค์ ผ่องใส หน.กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน และนายอมร ธุษาวัน พัฒนาการอำเภอขุนหาญ นำเกษตรกรอำเภอขุนหาญ ให้การต้อนรับและนำตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี2564 กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา งบยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ขนาด 1 ไร่ งบประมาณได้รับจัดสรรค่าดปรับแปลง จำนวน 45,200 บาท โดยเบิกจ่าย จำนวน 17,429 บาท และได้รับงบประมาณจัดซื้อพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ จำนวน 2,360 บาท มีพื้นที่ทำการทั้งหมด 12 ไร่ทำเป็น “วนเกษตร” จัดสรรพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ปลูกพืชผสมผสานและไม้ป่ายืนต้น ปลูกป่า 5 ระดับ ปลูกพืชสมุนไพร ขุดหนองน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง จัดสรรพื้นที่ทำนา ทำคันนาทองคำมีการบริหารจัดการน้ำ ภายในแปลโดยด้านหลังแปลงมีลำห้วยจันทร์ ด้านหน้าแปลงมีคลองชลประทานจากอ่างเก็บน้ำห้วยตาจู ขุดคลองไส้ไก่ส่งน้ำหล่อเลี้ยงพืชในแปลงของนายไพโรนจน์ ซึ่งอาชีพที่ยั่งยืนคือ อาชีพเกเษตรกรและอาชีพที่มั่นคงคือ เกษตรแบบอินทรีย์เศรษฐกิจพอเพียงคือทางรอดของสังคมไทย โดยเฉพาะในยามวิกฤต covid-19 ปัจจุบันนี้
นายอมร ธุษาวัน พัฒนาการอำเภอขุนหาญ กล่าวว่า อำเภอขุนหาญ มีโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”และโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาศูนย์เยนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคก สรุปผลการดำเนินดังนี้ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรพื้นที่ดำเนินการ อำเภอขุนหาญ แยกเป็นงบประมาณประเภท 1 ไร่ งบกรมฯ จำนวน 33 แปลง เป็นเงินจำนวน 1,491,600บาท งบกู้ จำนวน 41 แปลง เป็นเงินจำนวน1,853,200 ประเภท 3 ไร่ งบกรมฯ จำนวน 6 แปลง จำนวน 624,000 บาท
งบกู้ จำนวน 25 แปลง จำนวน 2,600,000บาท มีผลการดำเนินงาน กิจกรรมปรับรูปแบบแปลง (ขุด) เบิกจ่าย 100% จำนวน 105 แปลง เป็นเงิน4,221,439.59 บาท โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา ปี2565 จำนวน 3 แปลง แยกเป็นพื้นที่ 1 ไร่ จ๋นวน 2 แปลง และ 3 ไร่ จำนวน 1 แปลง ขุดปรับแปลงเสร็จเรียบร้อย อยู่ระหว่างดำเนินการเบิกจ่าย แปลงพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่น/ต้นแบบ ได้แก่แปลงนางศรัญญา อินวันนา บ้านแดง หมู่ที่ 4 ตำบลขุนหาญ พื้นที่ 1 ไร่ (งบกู้) ฐานเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย เลี้ยงปลา ปลูกผักปลอดสาร ปลูกดอกดาวเรือง ฐานรักสุขภาพ ปลูกสมุนไพร ฐานรักษ์ดิน ทำน้ำหมักชีวภาพ แปลงนางอลิษา บุญลือ บ้านเดื่อ หมู่ที่ 2 ตำบลกระหวัน พื้นที่ 3 ไร่ (งบกู้) ฐานลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้ ปลูกข้าวอินทรีย์ เลี้ยงปลา ฐานรักสุขภาพ ผักสวนครัวปลอดสาร ปลูกสมุนไพร ฐานรักษ์ดิน ทำน้ำหมักชีวภาพ และแปลงนางติมวิลา วิลา บ้านขี้เหล็ก หมู่ที่ 16 ตำบลพราน พื้นที่ 3 ไร่ (งบกู้) ฐานลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้ ปลูกข้าวอินทรีย์ เลี้ยงปลา ฐานรักสุขภาพ ปลูกพืชสมุนไพร ฐานรักษ์ดิน ปลูกถั่วพร้าบำรุงติน จุลสินทรย์สังเคราะห์แสง นอกจากนี้อำเภอขุนหาญ ยังได้มีการขับเคลื่อนแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ( SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ปี 2565 มีครัวเรือนยื่นใบสมัครเข้าร่วม จำนวน 31 แปลง/ราย อีกด้วย
***********
ข่าว/ภาพ … บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ