พะเยา ชมความสวยงามอลังการวิหารไม้สักแกะสลักพระเจ้าทันใจ
พะเยา ชมความสวยงามอลังการวิหารไม้สักแกะสลักพระเจ้าทันใจ
ชมความสวยงามอลังการวิหารพระเจ้าทันใจวัดศรีชุม ตำบลสว่างอารมณ์ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ที่ก่อสร้างโดยด้านนอกเป็นปูนปั้นศิลปะเชียงแสนที่งดงาม ตระการตา ภายในแกะสลักไม้สักทองทั้งหลัง ที่บอกเล่าถึงชาดกพระพุทธเจ้า 10 ชาติ ที่เป็นฝีมือช่างแกะสลักฝีมือดีของชาวล้านนา ซึ่งถือเป็นวิหารที่มีความสวยงามอลังการอีกแห่งหนึ่งของล้านนาไทย ที่เตรียมประดิษฐานพระเจ้าทันใจ ทองสำริด อายุกว่า 1,000 ปีที่หายไปกว่า 72 ปี และได้กลับคืนมาเมื่อปี พ.ศ. 2557 ซึ่งขณะนี้ได้ก่อสร้างวิหารแล้วเสร็จไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
วิหารปูนปั้น ที่เป็นศิลปะเชียงแสนประยุคแบบล้านนา ที่มีความสวยงามอลังการตลอดจนภายในวิหารที่มีการแกะสลักไม้สักทอง ที่บอกกล่าวเรื่องราวของชาดกพระพุทธเจ้า 10 ชาติ และรูปแกะสลักรูปเหมือนเกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองเหนือ จากไม้สักทอง ที่เป็นฝีมือช่างแกะสลักชั้นนำของล้านนา ถูกจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นวิหารที่ประดิษฐานของพระเจ้าทันใจ วัดศรีชุม ตำบลสว่างอารมณ์ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ที่มีความสวยงามอลังการและเป็นที่ตื่นตาตื่นใจสำหรับผู้พบเห็น และถือเป็นวิหารที่มีความสวยงามวิจิตรตระการตาอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดพะเยา หรือล้านนาเลยก็ว่าได้
โดยพระปลัดอิ่นแก้ว อนาลโย เจ้าอาวาสวัดศรีชุม กล่าวว่า แต่เดิมนั้นก็ไม่ได้มีความคิดที่จะสร้างวิหารดังกล่าวแต่ อย่างได พื้นที่ตรงที่สร้างก็จะเป็นศาลากุฎิเก่าของพระสงฆ์ ที่รกร้างว่างเปล่า แต่ผ่านมาเมื่อ 4-5 ปี ที่ผ่านมา ทางวัดได้พระพุทธรูปทองสำริด ปางปรมาพิชัยสิงห์ 1 หรือพระเจ้าทันใจ อายุกว่า 1,000 ปี ที่เคยประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ 72 ปี ที่ผ่านมาได้หายไป และได้คืนกลับมา ทางสาธุชนและศรัทธาชาวบ้านที่นี่ จึงได้มีแนวคิดที่จะสร้างวิหารขึ้นมาเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว ในตอนแรกตั้งใจจะทำเป็นกุฎิไม้สักทองทั้งหลัง แต่งบประมาณที่ทำการออกแบบไว้ 400-500 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณที่มากเกินไป จึงได้ทำการปรับปรุงแบบโดยด้านนอกได้ทำการใช้ปูนปั้น ที่มีศิลปะแบบเชียงแสนประยุกต์แบบล้านนา และภายในได้ทำการแกะสลักไม้สักทองทั้งหมด โดยบอกกล่าวเรื่องราวชาดกพระพุทธเจ้า 10 ชาติ รวมทั้งแกะสลักรูปเหมือนเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองเหนือ ซึ่งปัจจุบันได้มีการก่อสร้างเกือบแล้วเสร็จแล้วกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ คงเหลือเก็บรายละเอียดบางส่วน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านศรัทธา รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศบริจาคทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง ซึ่งหลังจากที่ได้มีการก่อสร้างวิหารดังกล่าว พบว่าได้มีนักเที่ยวเดินทางมาชมความสวยงามของวิหารพระเจ้าทันใจ ของวัดอย่างไม่ขาดสาย