มนัญญา สั่ง อธิบดี พร้อมรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ปูพรมทั้งประเทศ คุมเข้มรักษาคุณภาพมาตรฐาน ทุเรียน ลำไย และผลไม้ไทยส่งออก
มนัญญา สั่ง อธิบดี พร้อมรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ปูพรมทั้งประเทศ
คุมเข้มรักษาคุณภาพมาตรฐาน ทุเรียน ลำไย และผลไม้ไทยส่งออก
รมช.มนัญญา กำชับกรมวิชาการเกษตร คุมเข้มคุณภาพมาตรฐาน ทุเรียน ลำไย และผลไม้ส่งออก พร้อมเตรียมลงพื้นที่ภาคใต้ ป้องกันการสวมสิทธิ์ทุเรียน ลำไย และผลไม้ส่งออกไทย สั่งการอธิบดี รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผอ.สถาบันวิจัยพืชสวน ผอ.กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช และ ผอ. สวพ. เขต 1-8 ลงพื้นที่ปูพรมทั้งประเทศ คุมเข้มรักษาคุณภาพมาตรฐาน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรขานรับนโยบายรุดลงพื้นที่ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 8- 9 พ.ย นี้ พร้อมระดมเจ้าหน้าที่จัดทีมเฉพาะกิจเร่งออกบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ บริการขึ้นทะเบียน ต่ออายุ และปรับปรุง
รหัส GAP ปี 2565 ชูลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญสร้างรายได้ให้เกษตรกรพื้นที่ภาคเหนือ เผยยอดปี 65 ส่งออกไปจีนแล้วกว่า 8 หมื่นตัน คิดเป็นมูลค่าเกือบ 3 พันล้านบาท
ด้าน ดร.ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ในภาคตะวันออก ระหว่าง
วันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2565 เพื่อติดตามภารกิจงาน การตรวจสอบศัตรูพืชลำไย และโรงคัดบรรจุลำไย
ในฤดูกาลผลิต 2565 พร้อมทั้งจัดทีมคลินิกเกษตรเคลื่อนที่เพื่ออำนวยความสะดวก ในการออกใบรับรอง GAP และให้ความรู้เกษตรกร ที่ อ.สอยดาว และ อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรลงพื้นที่ภาคเหนือ และ
ภาคตะวันออก เพื่อคุมเข้มคุณภาพมาตรฐานลำไยส่งออกจีน พร้อมทั้งเร่งเดินหน้ามอบใบรับรอง GAP
รูปแบบใหม่ เพื่อให้ทันการขึ้นทะเบียนส่งออกไปยังจีน ป้องกันการสวมสิทธิ์ ตลอดจนป้องกันการปนเปื้อน
ของเชื้อไวรัสโควิด 19 และแนะนำวิธีการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ เช่น เพลี้ยแป้ง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้คุณภาพตามหลัก GAP ในลำไยส่งออก รวมทั้งชี้แจงเตรียมความพร้อมแก่ผู้ประกอบการและโรงคัดบรรจุ
ในเรื่องเงื่อนไขการส่งลำไยไปจีน เพื่อไม่ให้ผิดเงื่อนไขตามพิธีสารส่งออกผลไม้ไทยไปจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบ
ต่อภาพลักษณ์และเศรษฐกิจ
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 นี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ลงพื้นที่ประชุมหารือกับผู้แทนสมาคมการค้าผู้ประกอบการผลไม้ไทยภาคเหนือ พร้อมกรรมการ และผู้แทนสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุลำไยส่งออก สหกรณ์การเกษตร เกษตรกรแปลงใหญ่ และเกษตรกรผู้ปลูกลำไย
ภาคเหนือ จำนวน 100 คน ณ โรงคัดบรรจุของนายนพพร สุภาเวียง (ล้งเจ๊อ้อย) ณ ตำบลข่วงเปา
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ สำหรับการส่งออกลำไยจีนในฤดูกาลปี 2566 นี้ พร้อมมอบใบรับรอง GAP ที่ปรับปรุงรหัสใหม่ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมประชุม
สำหรับเป้าหมายสำคัญในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้เน้นย้ำให้ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ ตระหนักถึง
การปฏิบัติตามเงื่อนไขการคัดบรรจุลำไยสดที่มีคุณภาพเพื่อการส่งออกไปตลาดจีน ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานลำไย
ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรแล้วจำนวน 161 โรง โดยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
มีโรงคัดบรรจุลำไยสดส่งออก 97 โรง และเป็นโรงงานที่ผ่านการรับรอง GMP Plus (GMP+มาตรการโควิด 19) ลำไยรวมทั้งสิ้น 75 โรง
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จ.เชียงใหม่ (สวพ.1) เร่งออกใบรับรอง GAP รูปแบบใหม่และการขึ้นทะเบียน GAP ให้กับเกษตรกรรายใหม่ เพื่อให้ทันฤดูกาลส่งออกลำไยภาคเหนือในช่วงเดือนธันวาคม 2565 และในปี 2566 โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีน
จะมีการส่งออกลำไยผลสดไปประเทศจีนจำนวนมาก โดยให้เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการบริการ
คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ เพื่อรับขึ้นทะเบียน ต่ออายุ และปรับปรุงรหัส GAP ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน อาทิ อำเภอจอมทอง ดอยหล่อ ฮอด บ้านธิ สันป่าตอง สารภี ป่าซาง เวียงหนองล่อง บ้านโฮ่ง ลี้ เป็นต้น
โดยมีเป้าหมายการขยายการตรวจแปลงใหม่เพิ่มในปี 2566 จำนวน 15,626 แปลง เป็นแปลงใหม่
8,742 แปลง และแปลงต่ออายุ 6,884 แปลง โดยมีแปลงลำไยที่ได้ปรับปรุงรหัส GAP รูปแบบใหม่แล้ว
จำนวน 43,417 แปลง เกษตรกร 30,545 ราย รวมพื้นที่ได้รับการรับรอง 224,758 ไร่
ทั้งนี้หลังจากลงพื้นที่ในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกในสัปดาห์นี้แล้ว อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เตรียมลงพื้นที่ภาคใต้ กับ รมช .มนัญญา ระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2565 ที่ อ.พะโต๊ะ อ.หลังสวน
จ.ชุมพร เพื่อเตรียมความพร้อมการส่งออกทุเรียนภาคใต้ และการจัดทีมคลินิกเกษตรเคลื่อนที่เพื่อ
อำนวยความสะดวก ในการออกใบรับรอง GAP และให้ความรู้เกษตรกร ย้ำนโยบายการผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออก สั่งเข้มมาตรการป้องกันทุเรียนอ่อน และ ห้ามมีการสวมสิทธิ์ ทุเรียน สำไย และผลไม้ไทยส่งออกเพื่อควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ทุเรียน ลำไย และผลไม้ไทยส่งออก ไปยังประเทศจีน
“ลำไยเป็นอีกพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในปี 2564 มีมูลค่าการส่งออกทั้งประเทศกว่า 15,526.2 ล้านบาท โดยลำไยในพื้นที่ภาคตะวันออก ในฤดูกาลผลิต 2564 ต่อเนื่อง 2565 มีผลผลิต
12,051 ตู้ ปริมาณการผลิต 301,275 ตัน มูลค่า 10,544.6 ล้านบาท ในชณะที่ในเขตภาคเหนือ มีการส่งออกลำไยไปจีนรวมจำนวน 6,769 ตู้ ปริมาณการส่งออก 172,654 ตัน คิดเป็นมูลค่า 4,981.6 ล้านบาท
นอกจากนั้น กรมวิชาการเกษตรยังได้บูรณาการความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานความมั่นคง และหน่วยงานในพื้นที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ รวมถึงการรณรงค์ป้องกันปัญหาการตัดทุเรียนอ่อน ทุเรียน และลำไยด้อยคุณภาพ การป้องกันปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสโควิด 19 รวมถึง การป้องกันการสวมสิทธิ์ส่งออกผลไม้ไทยด้วย อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว