ชลบุรี-อว.เลือกมหาวิทยาลัยบูรพาปูพรมกิจกรรม U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน
ชลบุรี-อว.เลือกมหาวิทยาลัยบูรพาปูพรมกิจกรรม U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน
วันที่ 10 พ.ค.66 ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน
โครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ที่คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ได้มีมติรับทราบการดำเนินงาน และขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากระยะเวลา 3 เดือนเป็นระยะเวลา 9 เดือน (1 กรกฎาคม 2565 – 31 มีนาคม 2566)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำหน่วยงานของ อว. ลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนและพัฒนาช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการภายใต้โครงการ U2T for BCG โดยมุ่งหวังชุมชนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่มีขีดความสามารถ เข้มแข็ง ต่อยอดธุรกิจ และสามารถบริหารจัดการตนเองได้ ด้วยการนำศักยภาพด้านการอุดมศึกษาเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและ
สังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) โดยรับผิดชอบพัฒนา 208 ตำบลในพื้นที่ภาคตะวันออก รวม 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา โดยมีการจ้างงานประชาชนทั่วไปและบัณฑิต จำนวน 1,868 คน
มีการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์และบริการท่องเที่ยวชุมชน รวม 416 รายการ มีหน่วยงานใน
มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมดำเนินการทั้งสิ้น 27 ส่วนงาน ทั้งวิทยาเขตบางแสน จันทบุรี และสระแก้ว
ซึ่งงานในครั้งนี้จะมี 2 กิจกรรมหลัก คือ 1.การจัดแสดงผลิตภัณฑ์เด่นจากโครงการ U2T for BCG โดยมีผู้ประกอบการจากมหาวิทยาลัยบูรพา เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 15 ร้านค้า สินค้าที่นำมาจัดแสดงภายในงาน เช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) และสินค้าประเภทอาหาร และ 2.กิจกรรมการเสวนาเพื่อถอดบทเรียนผลการดำเนินงานโครงการ U2T for BCG
ในพื้นที่ภาคตะวันออก ภายใต้หัวข้อ “U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่อง
ยั่งยืน
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยบูรพา ยังได้รับมอบหมายให้เป็น มหาวิทยาลัยเครือข่ายในภาคตะวันออก (Regional System Integrator) เพื่อประสานงานระดับภูมิภาค กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ดูแลตำบลในภาคตะวันออกอีกด้วย