PNYS ศิษย์เก่ารามฯ 4 จชต.ในนาม INC จัดตั้งสภาเครือข่าย พร้อมสนับสนุนกระบวนการพูดคุยสันติภาพและรัฐไทย ต้องก้าวข้ามความขัดแย้ง
นราธิวาส/ภาพ/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ
PNYS ศิษย์เก่ารามฯ 4 จชต.ในนาม INC จัดตั้งสภาเครือข่าย พร้อมสนับสนุนกระบวนการพูดคุยสันติภาพและรัฐไทย ต้องก้าวข้ามความขัดแย้ง
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมบินตัง(บ้านนัจมุดดีน อูมา) ตันหยงมัส อ. ระแงะ จ. นราธิวาส ศิษย์เก่า PNYS มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เป็นคนในพื้นที่จังหวัด นราธิวาส ยะลา ปัตตานี และสงขลา ร่วมกว่า 100 ชีวิต ได้จัดให้มีการร่วมประชุมพบปะหารือ การจัดตั้ง สภาเครือข่ายปัญญาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีชื่อย่อ “สคป.จชต” ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า interllectual network council .southern border province หรือ inc
ทั้งนี้มีนายนัจมุดีน อูมา อดีต ส.ส.นราธิวาสหลายสมัย นายเหม รอยิง ประธานผู้ก่อตั้งกลุ่ม PNYS คนแรกเมื่อปี 2522 และคณะผู้ร่วมก่อตั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมทำหน้าที่การประชุม ร่วมพิจารณาร่างข้อบังคับ สภาเครือข่ายปัญญาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนให้สมาชิกพิจารณา โหวตเสียง สรรหาคณะกรรมการ ทำหน้าที่คณะกรรมการ รวม 21 คน ซึ่งสามารถเสนอชื่อ คณะกรรมการศิษย์เก่า PNYS เบื้องต้น 19 คน โดยทั้ง 19 คนเป็นคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจังหวัดสงขลา ในฐานะศิษย์เก่า ม.รามคำแหง กลุ่ม PNYS บรรยากาศเป็นไปด้วยสร้างสรรค์ และความหลากหลาย เน้นการมีส่วนร่วมตาม ระบอบประชาธิปไตย โดยมติที่ประชุม เลือก
1. สภาซูรอ ประธานคือ นายสะมะแอ จูมะ 2.ประธานกรรมการบริหาร
คือ นายเบลาล ธำรงทรัพย์
3.ประธานที่ปรึกษา คือ นายนัจมุดดีน อูมา
ทางด้านนายนัจมุดีน อูมา ในฐานะ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง กลุ่ม PNYS กล่าวว่า การพบปะประชุม บุคคลที่เคยศึกษาและร่วมกิจกรรม ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง สังกัดกลุ่มนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PNYS) ใช้รูปแบบ สภาซูรอ เพื่อรวบรวมสมาชิกกลุ่ม PNYS ให้มีส่วนร่วม เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยน รวบรวมแนวคิด เรียนรู้ปัญหาต่างๆในพื้นที่ เพื่อทำประโยชน์ให้กับมาตุภูมิ บ้านเกิด
จากนั้นนายนัจมุดดีน อูมา และทางคณะกรรมการฯ ได้ร่วมแถลงประกาศจุดยืน โดยได้กล่าวถึงปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในพื้นจังหวัดชายแดนภาคใต้ กว่า 16 ปี ทำให้พื้นที่บอบช้ำ มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตจำนวนมาก และก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด และเกิดช่องว่าง ความหวาดระแวง ของคนในพื้นที่
ซึ่งทางสภา INC พร้อมและยินดีสนับสนุน กระบวนการพูดคุยสันติสุข หรือสันติภาพ และพร้อมให้ความร่วมมือกับ ทุกหน่วยทุก องค์กร ทหาร ตำรวจ ปกครอง หรือ อื่นๆ เพื่อร่วมนำเสนอและมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหา ก้าวข้ามความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายภาคใต้ เพื่อให้พื้นที่เกิดความสงบสุข เกิดขึ้นกับพื้นที่ประชาชนอย่างสันติสุขมั่นคง
และควรหารูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับพื้นที ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทย และขอเสนอว่า ควรจะมี
Observers (ผู้สังเกตการณ์) ที่เป็นตัวแทนคนในพื้นที่ เข้าร่วมในเวทีพูดคุยสันติสุข หรือ PEACE TALK ซึ่ง สภา INC หรือสภาเครือข่ายปัญญาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมให้ความร่วมมือในทุกมิติ เพื่อหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
( ส.ค.2563)