ร้อยเอ็ดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง และอบรมหลักสูตรวิทยากร ครู ก เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาลมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น /ชมรมสื่อออนไลน์IT/สมนึก-ประธาน/0817082129–
ร้อยเอ็ดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง และอบรมหลักสูตรวิทยากร ครู ก เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาลมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น
/ชมรมสื่อออนไลน์IT/สมนึก-ประธาน/0817082129–
วันจันทร์ ที่ 10 มิถุนายน 2562 ณ ห้องประชุมสาเกต ชั้น 7 อาคารเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด นายดำรง สิริวิชย อิ่มวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง และเปิดการอบรมหลักสูตรวิทยากร ครู ก เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล โดยการดำเนินงานของนายแพทย์ปิติ ทั้งไพศาล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด นายแพทย์ชลวิทย์ หลาวทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลร้อยเอ็ด และคณะ
ประกอบด้วย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตำรวจภูธรจังหวัด สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด สำนักงานจังหวัด ที่ทำการปกครองจังหวัด สำนักงานขนส่งจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด กองพลทหารราบที่ 6 มณฑลทหารบกที่ 27 กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 โรงพยาบาลร้อยเอ็ด โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ห้างสรรพสินค้าร้อยเอ็ดพลาซ่า บริษัทสยามโกลบอลเฮ้าส์ บริษัทแทร็กซ์อินเตอร์เทรด ชมรมวิ่งบึงพลาญชัย และ ชมรมผู้ว่าพาปั่น
ร่วมกันการพัฒนาศักยภาพประชาชนให้มีความรู้และสามารถช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน ด้วยการกดหน้าอกที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาลได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น
นายแพทย์ปิติ ทั้งไพศาล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวรายงานว่า.-ตามที่จังหวัดร้อยเอ็ดมีเป้าหมายการพัฒนาเมืองสุขภาพ พร้อมพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนนั้น จังหวัดร้อยเอ็ด พบผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล ปี 2560-2561 จำนวน 308 คน และ 312 คน ตามลำดับ และได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพจนผู้ป่วยรู้สึกตัวและมีสัญญาณชีพคืนมา จำนวน 114 คน และ 122 คน คิดเป็นร้อยละ 37-39
หากต้องการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตควรมีการจัดอบรมการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐานด้วยการกดหน้าอก ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ต้องจัดหาเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ Automated External Defibrillator (AED) ไว้ตามแหล่งชุมชนที่มีผู้คนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งประชาชนสามารถใช้เครื่องดังกล่าวช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจให้ผู้ป่วยฟื้นคืนชีพได้
และภายในปี 2562 ผู้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงจะดำเนินการพัฒนาผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น แกนนำส่วนราชการ สถานประกอบการค้าขนาดใหญ่ และสถานศึกษา ให้สามารถช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และจัดหาเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติไว้ประจำสำนักงาน และประจำชุมชนที่มีประชากรมารวมกันเป็นจำนวนมากอย่างครอบคลุมทั้งจังหวัด
นายดำรงค์ สิริวิชย อิ่มวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานกล่าวเปิดว่า.-การจัดทำบันทึกข้อตกลงเพื่อความร่วมมือฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาร่วมมือเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล ในหน้าที่ต่างๆกัน อาทิ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการ ดังนี้ สถานศึกษาทุกแห่งมีครูแกนนำ อย่างน้อย 1 คน ได้รับการอบรมหลักสูตร ครู ก การช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support: BLS) ครบทุกแห่งภายในปี พ.ศ.2562,มีนโยบายให้นักเรียน นักศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับอาชีวศึกษาทุกคน ได้รับการอบรมหลักสูตร การช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support: BLS) ครบทุกแห่งภายในปี พ.ศ.2562 โดยประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลร้อยเอ็ด หรือ โรงพยาบาลในระดับอำเภอสนับสนุนวิทยากร
สถานประกอบการค้าขนาดใหญ่ ส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ เรื่องการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐานทุกคน โดยการจัดอบรมอย่างทั่วถึง และจัดหาเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ Automated External Defibrillator (AED) ไว้ประจำสถานประกอบการอย่างเพียงพอ ภายในปี พ.ศ.2562
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในครั้งนี้ จะเป็นการพัฒนาศักยภาพประชาชนชาวร้อยเอ็ดให้มีความรู้ ความสามารถ ในการช่วยฟื้นคืนชีพแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล เพิ่มอัตราการรอดชีวิตแก่ผู้ป่วย ให้ประชาชนมีความปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี นำสู่การเป็นเมืองสุขภาพได้อย่างยั่งยืน สืบไป
/ชมรมสื่อออนไลน์IT:ชสอท:MOITC/สมนึก บุญศรี-ประธาน/0881782129-