วัคซีนโควิด คุ้มกันเศรษฐกิจ -สังคม

วัคซีนโควิด คุ้มกันเศรษฐกิจ -สังคม

นายแพทย์พลเดช ถึงเครือข่ายผู้นำองค์กรชุมชนภาคประชาสังคมและเครือข่ายท้องถิ่น-ท้องที่วิถีใหม่ทุกจังหวัด….

ต้องตระหนักเสมอว่าขณะนี้ เรากำลังเผชิญหน้ากับไวรัสตัวร้ายที่ตามองไม่เห็น.. เชื้อร้าย (covid -19) ระลอก 3 ระบาดรวดเร็วและรุนแรง กว่าเดิมเป็นร้อยเท่าพันเท่า สถานการณ์โควิด เมื่อ 30 เมษายน 2564 ทั่วโลกป่วย 152 ล้าน คนเสียชีวิต 3.2 ล้านคน ศูนย์กลางการระบาด ย้ายมาอยู่ที่ประเทศอินเดียซึ่ง อยู่ใกล้บ้านเรามาก สถิติผู้ป่วยสูงสุดกว่า 4 แสนคน และตาย 3.500 คนต่อวัน ดังได้เห็นภาพข่าวการเผาศพ ควันโขมงตามท้องถนนและลานจอดรถ เป็นที่อเนจอนาถยิ่งนัก

สวนในบ้านเรา covid -19 รอบที่1 มีผู้ป่วยใหม่รายวันเป็นแค่หลักสิบ ตามมาด้วยระลอก 2 เพิ่มเป็นหลักร้อยคราวนี้ระลอก 3 มีรายงานเป็นหลักพันวันละ 2-3 พันคน ระบบบริการด้านสาธารณสุข ที่ต้องดูแลผู้ป่วย ทุกโรคอาจจะล่มสลายลงในวันใดวันหนึ่ง ถ้ามีผู้ป่วย covid-19 เข้ามา จองกันเต็มโรงพยาบาลกันหมด ทางรัฐบาลจึงต้องเตรียมโรงพยาบาลสนามและสถานที่กักตัวสังเกตอาการชั่วคราว (Hospital ) เข้ามาเสริม ดังที่ ได้เคยกล่าวไว้บ้างในจดหมายฉบับที่แล้ว นายแพทย์ พลเดช ปิ่นประทีปแล้วนั้น
และในสถานการณ์เช่นนี้วัคซีน จึงจำเป็น. เป็นความหวัง ทุกๆประเทศ ต่างมุ่งไปที่การจัดหา การกระจายวัคซีน ให้กับประชาชนของตน ให้ครอบคลุมมากที่สุดและรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงไม่ได้มีความหมายแค่การป้องกันโรคส่วนบุคคล

แต่ยังหมายถึงการสร้างภูมิคุ้มกันต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศทั่วโลกให้สามารถกับพื้นอีกด้วย.
ในช่วงนี้ คงไม่มีอะไรร้อนแรง Hot = Application หมอชนะ หมอพร้อม ที่เปิดรับการขึ้นทะเบียนจองคิววัคซีน ป้องกัน covid-19 เพรียงเปิดรับวันแรกก็มีคนเข้าจองแล้ว 3.3 ล้านคนส่วนใหญ่เป็นประชากรประชาชนชั้นกลางในเมือง ทำเอาระบบล่ม แต่ไม่ต้องกังวล การทดสอบนี้ ทางการกำลังนำไปปรับปรุงบริการให้ดีขึ้น

และแตกต่าง จาก ประชากรในชนบทต่างจังหวัดนั้นง่ายมาก เพราะว่าพี่น้อง อสม. เขาออกเดินสำรวจล่วงหน้าตรวจเช็คกับฐานข้อมูลเข้ากับระบบการรักษาบัตรทองประชาชนกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ก็เข้าถึงวัคซีนนี่คือระบบสาธารณสุขของประเทศไทยที่ได้รับการยกย่องชมเชยจากทั่วโลกว่าประสบความสำเร็จด้วยงบประมาณน้อยและใช้เทคโนโลยีพื้นฐานที่เรียบง่าย
ในเรื่องนี้มีสิ่งหนึ่งที่ผู้นำท้องถิ่นท้องที่วิถีใหม่ ต้องแสดงบทบาท

1.เตรียมข้อมูลกลุ่มประชากรที่ยากลำบากต้องช่วยให้เขามีโอกาสได้รับวัคซีนด้วยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง

2. สื่อสารสร้างความเข้าใจและเจตคติที่ดี สื่อสารทั้งเรื่องวัคซีนและมาตรการด้านสาธารณสุขทั้งหลาย ที่ต้องสนับสนุนให้มีกิจกรรมการกุศลเช่น ตู้ปันสุข โรงทาน ชุมชนฯ.

3. สร้างแบบอย่าง การรับวัคซีนด้วยอารยะ ต้องอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน ในวันมารับวัคซีน จัดระบบสวัสดิการสนับสนุน ฝ่ายประชาชนและเจ้าหน้าที่ ช่วยกันรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ให้การรับวัคซีน อย่างผู้มีอารยะธรรม เป็นศักดิ์ศรีของ ชุมชนท้องถิ่น มีระบบ และปลอดภัย

ระบบวัคซีน คุ้มกันเศรษฐกิจและสังคม

นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป. สมาชิกวุฒิสภา