ดร.วิชาญรองอธิบดีกรมประมงลงพื้นที่ร้อยเอ็ดตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยเกษตรกรแปลงใหญ่ประมงและมอบถุงยังชีพให้กำลังใจพร้อมช่วยเหลือโดยด่วน /PALANCHAI TV/ชสอท./nuk-sakda/0817082129-รายงาน

ดร.วิชาญรองอธิบดีกรมประมงลงพื้นที่ร้อยเอ็ดตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยเกษตรกรแปลงใหญ่ประมงและมอบถุงยังชีพให้กำลังใจพร้อมช่วยเหลือโดยด่วน

/PALANCHAI TV/ชสอท./nuk-sakda/0817082129-รายงาน


PALANCHAI TV/ชมรมสื่อออนไลน์IT/ดร.วิชาญ รองอธิบดีกรมประมง ช่วยเหลือเกษตรกรแปลงใหญ่เลี้ยงปลาที่น้ำท่วมที่รัอยเอ็ดnuk-sakda/0817082129-รายงาน

เมื่อบ่ายวันนี้ 4 กันยายน 2562 ตั้งแต่เวลา 14:00 น. ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมงและคณะลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดตรวจเยี่ยมให้กำลังใจผู้ประสบอุทกภัยเกษตรกรแปลงใหญ่ประมงเลี้ยงปลา พร้อมมอบถุงยังชีพให้กำลังใจ โดยการต้อนรับของ นายประจักษ์ เจริญรัตน์ ประมงจังหวัดร้อยเอ็ด,ประมงอำเภอธวัชบุรี,ประมงอำเภอเชียงขวัญ,ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและเพาะพันธ์สัตว์น้ำร้อยเอ็ดและคณะ พร้อมด้วยจ่าเอกศักดิ์ดา สมศรี หัวหน้าสถานีวิทยุ กรมประมงจังหวัดร้อยเอ็ด FM 101.50 เมกะเฮิรตซ์ และเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย แปลงใหญ่ประมงเลี้ยงปลาอำเภอธวัชบุรีอำเภอเชียงขวัญ โดยมีเกษตรกรแปลงใหญ่เลี้ยงปลา 4000 คน

ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมงและคณะได้ออกตรวจเยี่ยมเกษตรกรแปลงใหญ่ประมงเลี้ยงปลา 3 จุด ได้แก่ฟาร์มปลาของนางกอบจิต สุวรรณศรี ตำบลนิเวศน์อำเภอธวัชบุรี, บ้านดู่อีโต้ อำเภอธวัชบุรี,หอประชุมที่ว่าการอำเภอเชียงขวัญ แล้วเดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดขอนแก่น

ด็อกเตอร์วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดี กรมประมง ได้มอบนโยบายการช่วยเหลือเกษตรกรและการทำงานเชิงรุกแก่ข้าราชการสังกัดกรมประมงจังหวัดร้อยเอ็ดที่สำนักงาน ประมงจังหวัดร้อยเอ็ดโดยนายประจักษ์เจริญรัตน์และคณะ

จุดที่เสียหายค่อนข้างรุนแรง คือ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2562 ที่เกษตรแปลงใหญ่ประมงเลี้ยงปลาดุกของ กอบจิตฟาร์มปลาโดยนางกอบจิตสุวรรณศรี ได้เลี้ยงปลาดุกใกล้จะจับขายขนาดใหญ่ 4 ตัวต่อ 1 กิโลกรัมราคากิโลกรัมละ 40 บาทเลี้ยงไว้ 8 บ่อบ่อละประมาณ 5 หมื่นตัวคาดว่าจะได้เงินล้านกว่าบาท แต่ก็เกิดน้ำท่วมบ่อปลาทำให้ปลาดุกขนาดใหญ่ดังกล่าว ออกจากบ่อเลี้ยงปลา ทำให้ชาวบ้านจับปลาดุกไปบริโภคหรือจำหน่ายกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ปลาในบ่อเหลือน้อยมากประมาณ 1 ใน 4 เงินที่ลงทุนไปนับล้านบาท อาทิอาหารปลาจากบริษัทเอกชน 1,400 ถุงละ 400 บาทเป็นเงิน 560,000 บาท และ รายจ่ายอื่นๆ ที่ลงทุนไปเกือบล้านบาทต้องกลายมาเป็นหนี้ก้อนโต

ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมงกล่าวสรุปว่า.- ทางกรมประมงจะเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย แปลงใหญ่ประมงโดยด่วน โดยให้ประมงจังหวัดรายงานข้อมูลที่แท้จริงและถูกต้อง โดยจะช่วยเหลือ 2 ประการหลักคือ 1 ทำอย่างไรจะปลดหนี้สินให้ได้ 2 จะฟื้นฟูให้กลับมาประกอบอาชีพโดยเร็ว 3 จะอบรมอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ทางอื่น

โดยที่ภาครัฐจะช่วยเหลือตามกระทรวงการคลังแล้วจะต้องมีการฟื้นฟูอาชีพการสนับสนุนปัจจัยการเกษตร กระทรวงเกษตรและกรมประมงจะต้องเร่งด่วน จังหวัดสามารถช่วยเหลือเร่งด่วนได้เพราะมีงบประมาณในการช่วยเหลือ โดยเจ้าหน้าที่จะต้องเสนอเรื่องที่เดือดร้อนต่อ กบจ.จังหวัด ผู้ว่ามีอำนาจช่วยเหลือเบื้องต้น การช่วยเหลือทุกอย่างไม่ยาก ในระดับนโยบายต้องเคาะให้เร็วที่สุดเพราะเกษตรกรได้มีสินเชื่อโดยเฉพาะ บริษัทรายใหญ่ บริษัทรายใหญ่ให้สินเชื่อรายใหม่ให้เร็วและก็ ลดราคาต้นทุนลงเขาก็จะปลดหนี้ได้เร็ว

/PALANCHAI TV/ชมรมสื่อออนไลน์IT/สมนึก-ประธาน/จ่าเอกศักดา-ที่ปรึกษา/0817082129-รายงาน