ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 16 ลงพื้นที่ติดตามสอดส่องโครงการต่างๆ ในพื้นที่อำเภอสูงเม่น เด่นชัย
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 16 ลงพื้นที่ติดตามสอดส่องโครงการต่างๆ ในพื้นที่อำเภอสูงเม่น เด่นชัย
วันนี้(4ก.ค.65) เวลา 10.30 น. นางสุมิตรา อติศัพท์ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 16 ประธานกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดแพร่ นำคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดแพร่ลงพื้นที่ติดตามสอดส่องโครงการที่ได้รับงบประมาณในการดำเนินการ ในพื้นที่อำเภอสูงเม่น และอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ โดยลงพื้นที่จุดแรก เพื่อสอดส่องโครงการปรับปรุงถนนลูกรังด้วยหินคลุก สายบ้านนาตม หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำชำ เชื่อมหมู่ที่ 3 ตำบลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยมีนาย ศิวัช ฟูบินทร์ นายอำเภอสูงเม่น จ.แพร่ ลงพื้นที่ให้การต้อนรับซึ่งเป็นโครงการที่จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2565 (งบองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่) งบประมาณ 422,000 บาท โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำชำ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ
จากนั้น ลงพื้นที่สอดส่องโครงการก่อสร้างสระว่ายน้ำ โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย ซึ่งเป็นโครงการที่จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2565 งบประมาณ 2,830,500 บาท โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ สอดส่องโครงการรถบรรทุกขยะ ขนาด 6 ตัน 6 ล้อ ปริมาตรกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า 6,000 ซีซี หรือกำลังเครื่องยนต์สูงสุดไม่ต่ำกว่า 170 กิโลวัตต์แบบอัดท้าย ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย ซึ่งเป็นโครงการที่จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2565 งบประมาณ 2,400,000 บาท
และลงพื้นที่เพื่อสอดส่องโครงการปรับปรุงซ่อมแชมสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า บ้านปากพวก หมู่ที่ 3 ตำบลเด่นชัยซึ่งเป็นโครงการที่จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2565 งบประมาณ 4,972,000 บาท โดยมีเทศบาลตำบลเด่นชัย เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยมีการประชุมร่วมกันกับคณะธรรมาภิบาลจังหวัดแพร่ครั้งที่ 3/2565 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
ประธานกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดแพร่ กล่าวว่า คณะกรรมการธรรมมาภิบาลจังหวัดมีหน้าที่สอดส่อง เป็นการป้องกันการทุจริต หากมีแนวโน้มก็จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่เข้ามาดูแลต่อ ซึ่ง กทจ. มาจาก 3 ภาคส่วนคือภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคสภาท้องถิ่น ซึ่งเมื่อลงพื้นที่แล้วพบปะสิ่งผิดปกติ เช่น เกิดประโยชน์หรือไม่ หรือบางทีพบว่ามีความบกพร่องแต่ยังไม่สิ้นสุดสัญญาก็จะได้แจ้งให้เกิดการแก้ไข อย่างไรก็ตาม กทจ. ซึ่งมาจากคนในพื้นที่ จึงทราบว่าพื้นที่ต่างๆต้องการอะไร ก็จะช่วยแหก้ไขและป้องกันการทุจริตได้ แต่อำนาจหน้าที่ กทจ.จริงๆมีหน้าที่สอดส่อง เสนอแนะ ประชาสัมพันธ์ภารกิจ และแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ ซึ่งจะไม่ลงไปดำเนินการในเรื่องของกฎหมาย แต่จะดำเนินการในเชิงสร้างสรรค์
ภาพ/ข่าว
ราเชนทร์/ญาณัจฉรา โชติถนอมกิจ
แพร่…รายงาน