ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานโควิด 19 ยอดค้างจ่ายของปีงบประมาณ 2563 และรอบแรกปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม – ธันวาคม 2564) จำนวน 1,918 ล้านบาท
ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานโควิด 19 ยอดค้างจ่ายของปีงบประมาณ 2563 และรอบแรกปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม – ธันวาคม 2564) จำนวน 1,918 ล้านบาท จัดสรรลงพื้นที่แล้วช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนรอบ มกราคม-มีนาคม 2565 อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลหลักฐานการปฏิบัติงานจากพื้นที่เพื่อเสนอสำนักงบประมาณ
.
นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวงและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีมีผู้ตั้งประเด็นคำถามเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานโควิด 19 ล่าช้า ว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติงบประมาณจากงบกลาง เป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยผู้ปฏิบัติงานโควิด 19 รวมถึงงบฉีดวัคซีนโควิด 19 นอกสถานพยาบาล งบยารักษา และงบค่ารักษาคนไร้สิทธิ์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามเรื่องมาตลอด และได้รับหนังสือจากสำนักงบประมาณ แจ้งอนุมัติให้เบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ซึ่งได้เร่งดำเนินการตามระบบการเงินการคลังและจัดสรรลงไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดแล้ว เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประกอบด้วย ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยค้างจ่ายของปีงบประมาณ 2563 จำนวน 7,311,312 บาท และค่าตอบแทนเสี่ยงภัยปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม – ธันวาคม 2564) จำนวน 1,910,996,675 บาท รวม 1,918,307,987 บาท
.
กระทรวงสาธารณสุขตระหนักถึงความทุ่มเทเสียสละของบุคลากรทุกคนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จึงมีการเสนอเรื่องขอรับการสนับสนุบงบประมาณจากรัฐบาลเป็นค่าตอบแทนเเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายได้ก็ได้เร่งดำเนินการทันทีตามขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณราชการ และกระบวนการทางการเงินการคลัง สำหรับงบค่าตอบแทนเสี่ยงภัยและงบฉีดวัคซีนโควิด 19 นอกสถานที่ของช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 อยู่ระหว่างให้แต่ละจังหวัดรวบรวมข้อมูลหลักฐานการปฏิบัติงานส่งส่วนกลางเพื่อนำเสนอสำนักงบประมาณต่อไป
.
#ข่าวจริงประเทศไทย #ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยโควิด #บุคลากรทางการแพทย์ #IDIAIR #โควิด19