รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เยือนมาเลเซียเป็นทางการ เชื่อมสัมพันธ์ แก้ปัญหาภายใต้ความร่วมมือในหลายมิติ เพื่อคนไทยในมาเลย์
นราธิวาส/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ
รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เยือนมาเลเซียเป็นทางการ เชื่อมสัมพันธ์ แก้ปัญหาภายใต้ความร่วมมือในหลายมิติ เพื่อคนไทยในมาเลย์
หากจะพูดถึง “สหพันธรัฐมาเลเซีย” ประเทศมาเลเซีย ประกอบไปด้วย ๑๓ รัฐ ถือเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อ กับภาคใต้ของไทย จึงมีความใกล้ชิด และติดต่อทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนถึงความมั่นคงของทั้ง 2 ประเทศ มาอย่างยาวนาน ความสัมพันธ์ในฐานะมิตรประเทศเพื่อนบ้าน การสร้างเข้าใจซึ่งกันและกัน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อการรวมกันเป็นหนึ่งในฐานะประเทศของสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และที่สำคัญจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันประกอบด้วย จ.สตูล ปัตตานี ยะลา สงขลา และนราธิวาส มีอาณาเขตติดต่อชายแดนกับประเทศมาเลเซีย มีประชาชนชาวไทยไปท่องเที่ยว ไปสร้างอาชีพแรงงาน เป็นผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และนักศึกษาไทย และอีกหลายส่วนในประเทศมาเลเซียที่เชื่อมโยงต่อกันมาโดยตลอด
.
ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีแรงงานไทยในมาเลเซียคคาดว่า ประมาณ 210,000 คน โดยเป็นแรงงานถูกกฎหมายประมาณราว 6,600 คน ทั้งนี้ในปี 2553 มีแรงงานต่างชาติ ที่ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในมาเลเซีย จำนวน 458,698 คน โดยแรงงานจากอินโดนีเซียจัดเป็นลำดับหนึ่ง ร้อยละ 55.81 และแรงงานไทยจัดอยู่ในลำดับ 9 ร้อยละ 1.45 มาเลเซียมีความต้องการแรงงานไทยสาขาก่อสร้าง งานนวดแผนไทย งานบริการ การเกษตรชายแดน อุตสาหกรรม และงานแม่บ้าน รวมไปถึงภาคอาหารไทยที่ขึ้นชื่อ ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นบังคับใช้ ค่าจ้างขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น ไทยกับมาเลเซียมีความร่วมมือด้านแรงงาน ในกรอบคณะทำงานร่วม ด้านความร่วมมือแรงงานภายใต้คณะกรรมาธิการ ร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย-มาเลเซีย
.
ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียประกอบด้วย (1) กลุ่มแรงงานไทยในร้านต้มยำของมาเลเซีย(ร้านอาหารไทย) จำนวนมากกว่า 10,000 คน และ (2) กลุ่มนักเรียนทุนรัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งศึกษาระดับมัธยมต้น – มัธยมปลายในโรงเรียนสอนศาสนาของรัฐบาลมาเลเซียจำนวน 350 คน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนมาเลย์เชื้อสายสยาม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวไทยอาศัยอยู่ใน 4 มณฑลในภาคใต้ตอนล่างของสยาม เนื่องจากเมื่อปี 2452 รัฐบาลสยามตกลงมอบ 4 มณฑลให้อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ กับการให้อังกฤษยอมรับอธิปไตยของสยามในส่วนอื่นของประเทศ คนเหล่านี้จึงตกค้างและกลายเป็นพลเมืองของมาเลเซียในปัจจุบัน
.
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายสิรภพ ดวงสอดศรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมคณะ ประกอบด้วย แพทญ์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.บัญชีรายชือ พรรคภูมิใจไทย (ปัตตานี) นายอับดุลอาซิม อาบู ส.ส.เขต 2 พรรคภูมิใจไทย จ.ปัตตานี นายนัจมุดีน อูมา อดีต ส.ส.หลายสมัย จ.นราธิวาส ดาโตะสรี สุทธิพันธ์ ศรีกานนท์ และว่าที่ผู้สมัครพรคภูมิใจไทย จากจังหวัดปัตตานี ยะลา สงขลา และนราธิวาส ร่วมคณะ ในห้วงวันที่ 31 ก.ค.-2 ส.ค.2565 ในภารกิจ เชื่อมสัมพันธ์ รัฐบาลไทย กับมาเลเซีย ตลอดจนการเยือน และพบปะรับฟังปัญหาคนไทยในต่างแดน ที่พำนักอาศัยในประเทศมาเลเซีย
.
โดยภารกิจ ในช่วงเช้าเวลา 09.00 น. ในเวลาประเทศไทย ที่กรุงกัวลาลุมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมคณะฯ ได้เข้าพบอย่างเป็นทางการ รัฐมนตรีกระทรวงเยาวชนและกีฬาประเทศมาเลเซีย เพื่อร่วมประชุมหารือ ระหว่างการกีฬาและท่องเที่ยว ของทั้ง 2 ประเทศ ตลอดจนการจับมือ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย และอาเซียน เพื่อร่วมเป็นเจ้าภาพ ในการจัดฟุตบอลโลก ปี 2030
.
จากนั้นคณะฯ ได้เดินทาง พบรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศมาเลเซีย เข้าพบประชุมพบปะ HE.YB kamarudin รมว.สาธารณาสุข มาเลเซีย พบ ตัสสรี อันวามูซอ รมว.การสื่อสารและโทรคมนามคม มาเลเซีย และพบปะกับ รัฐมนตรีมหาดไทยมาเลเซีย ที่กำกับดูแลเรื่องความสงบเรียบร้อย ฝ่ายปกครอง และสำนักงานกรมตำรวจแห่งชาติ พร้อมหน่วยอื่นๆ ภายใต้กระทรวงมหาดไทย เพื่อประสานความร่วมมือ 6 กระทรวงหลักของมาเลเซีย ในการแก้ปัญหาให้กับคนไทยทั้งเป็นนักท่องเที่ยว และผู้ที่พำนักอาศัยในประเทศมาเลเซีย
ต่อมา ภูมิใจไทย นำโดยนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา และคณะทำงาน ได้เดินทางพบปะร่วมเสวนา และแนะนำคณะทำงานพรรคภูมิใจไทย เปิดเวทีเสวนาชาวไทย ย้ำนโยบาย!! พูดจริง ทำจริง ประกอบด้วย ผู้ร่วมเสวนา ในประเทศมาเลเซีย
(1) ตัวแทนจากกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในมาเลเซีย (2) ตัวแทนจากกลุ่มภาคธุรกิจไทยในมาเลเซีย (3) ตัวแทนจากกลุ่มนักศึกษาไทยในมาเลเซีย (4) ตัวแทนจากกลุ่มนักวิชาการ (5) ตัวแทนจากกลุ่มประชาสังคม/อสม. ไทยในมาเลเซีย (6) ตัวแทนประชาชนทั่วไป
.
พร้อมกันนี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา และคณะทำงาน ยังได้เปิดเวทีเสวนาให้กับผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นชาวไทยจากกลุ่ม ต่างๆ โดยเน้นเปิดโอกาสให้ได้มีการสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พร้อมแนะแนวทางในการหาทางออกร่วมกัน โดยประเด็นที่ได้มีการเรียกร้อง มีดังนี้
กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารไทย (ร้านต้มยำ)
– สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์อบรมวิชาชีพสำหรับแรงงานไทยที่พำนักอยู่ในมาเลเซีย อาทิ การสาธิตการทำอาหาร
ไทย การสอนลูกจ้าง/พนักงานในด้านการบริการ โดยทั้งนี้ เพื่อยกระดับให้การบริการจากผู้ประกอบการร้าน
ต้มยำให้มีมาตรฐานมากขึ้น
– สนับสนุนการทำงานในองค์กร พร้อมประชาสัมพันธ์ “สมาคมอูคูวะห์” ซึ่งเป็นสมาคมที่ก่อตั้งโดยกลุ่ม
ผู้ประกอบการร้านต้มยำไทย เพื่อให้เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทยทั้งที่อาศัยอยู่ในไทยและมาเลเซียมากขึ้น โดยทาง
สมาคมฯ คาดหวังให้ชาวไทยทั้งที่อาศัยอยู่ในไทยและมาเลเซียเกิดการทำงานร่วมกัน และสมาคมฯ มีความ
พร้อมในการสนับสนุน/ช่วยเหลือในด้านต่างๆ ตามความสามารถ
– สนับสนุนในการส่งเสริมแรงงาน-ลูกจ้าง/เยาวชนไทยไทยในมาเลเซีย ในด้านการกีฬาผ่านการจัดกิจกรรม/
การแข่งขันต่างๆ ภายในกลุ่มฯ เพื่อเป็นการจัดสรรเวลาที่มีประโยชน์ อันเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจ
ชักนำกลุ่มบุคลดังกล่าวในการยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดและอบายมุขต่างๆ
– อำนวยในด้านการดำเนินการขอหนังสือเดินทาง เนื่องจากปัจจุบัน หากบุคคลที่ไม่มีวีซ่า ไม่สามารถยื่นขอ
ทำพาสปอร์ตในมาเลเซียได้ ต้องกลับไปดำเนินการที่ไทย ถือเป็นอุปสรรคในการเดินทาง และส่งผลกระทบใน
ด้านการจัดสรรเวลาทำงานของลูกจ้าง/นายจ้าง/แรงงานไทยในปัจจุบัน
ตัวแทนจากกลุ่มธุรกิจไทยในมาเลเซีย (ร้านสปา/นวดแผนไทย)
ด้านวีซ่าทำงาน โดยขอความอนุเคราะห์ให้พิจารณาปรับราคาวีซ่าให้ถูกลง และเรียกร้องให้อำนวยลูกจ้าง/แรงงานไทย ดำเนินทางการทางเอกสารให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ตัวแทนนักเรียน/นักศึกษาไทย
– สนับสนุนในด้านการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ กิจกรรม “Chai-Yo Game” จัดโดย “สมาคม TSAM” ซึ่งเป็น
กิจกรรมกีฬาที่เกิดขึ้นในทุกปี ถือเป็นการรวมตัวครั้งใหญ่ของกลุ่มนักศึกษาไทยในทุกมหาลัยทั่วราชอาณาจักร
มาเลเซีย เดินทางมารวมตัวเพื่อพบปะและเล่นกิจกรรมร่วมกัน
– แก้ปัญาด้านวีซ่าความล่าช้าของการจัดการ-ดำเนินการต่อวีซ่าของนักเรียน/นักศึกษาไทยในมาเลเซียถือเป็น
ปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์ส่งผลให้นักเรียน/นักศึกษาไทยบางคน ไม่สามารถเดินทาง
กลับภูมิลำเนาเพื่อเยี่ยมเยียนครอบครัวได้ตามเวลาที่คาดหวังในช่วงปิดเทอม/วันหยุดยาว
ตัวแทนนักวิชาการ/พนักงานบริษัทเอกชน/Professional Workers
– สนับสนุนให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้พัฒนาศักยภาพผ่านการสนับสนุนในด้านต่างๆ จากทางรัฐ เนื่องจากชาวไทย
กลุ่มนี้ ค่อนข้างเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการทำงานสูง สามารถกลับไทยเพื่อไปพัฒนาประเทศชาติต่อไปได้
– สนับสนุนในด้านการให้คำปรึกษาแก่ชาวไทยกลุ่มนี้ ผ่านการจัดตั้งองค์กร/ผู้ให้คำปรึกษา
.
ด้านนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา กล่าว่า การเดินทางในภารกิจครั้งนี้ ที่มาเลเซีย เพื่อเข้าพบปะหารือ เป็นทางการและไม่เป็นทางการกับ 6 รมว.กระทรวงหลัก ของประเทศมาเลเซีย ทั้งหมดได้พูดคุยเจรจา ที่เป็นข้องขัดข้อง อยู่ภายใต้กฎหมาย 2 ประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนไทย ที่จะมาท่องเที่ยว และทำงาน เป็นนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ นักศึกษา หรือ ใช้แรงงาน นับแสนคน ส่วนใหญ่ เป็นคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งนี้ได้บรรลุผลในหลายเรื่องๆหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการต่อวิซ่า ให้สะดวกมากขึ้น การข้ามแดนคนไทย ที่รัฐบาลมาเลเซีย ให้ความร่วมมือยกเลิกใช้การลงทะเบียนผ่านแอป Mysejahtera หรือใบลงทะเบียนวัคซีนเข้าประเทศ ประเทศไทย Thailand Pass ประเทศไทยได้ยกเลิกไปก่อนหน้านี้แล้วเช่นกัน มาเลเซียได้เห็นชอบร่วมกันในการยกเลิก เพื่อสะดวกให้คนไทยเข้าประเทศ อย่างถูกกฎหมาย นอกจากนี้นโยบายหลายด้านความร่วมมือ 2 ประเทศ การทูตไทย จะขับเคลื่อนรับฟังคนไทย ในปัญหาหลายๆด้าน เพื่อประสานแก้ไขปัญหา และความร่วมมือในหลากมิติ เพื่อคนไทยที่จะทำงาหรือพำนักในต่างแดน ให้เกิดความสะดวกและเกิดความมั่นคง ในคุณภาพชีวิต และยืนยันทุกกรณี คนไทยที่อยู่ในประเทศมาเลเซีย ปัญหาข้อขัดข้องหลายๆ ประเด็น คณะได้รับฟังข้อเสนอแล้ว จะนำไปสู่การแก้ไข อย่างเป็นระบบ เพื่อประชาชนคนไทยต่อไปอย่างแน่นอน ภายใต้รัฐบาลไทย และในฐานะพรรคภูมิใจไทย เน้นย้ำนโยบาย !! พูดจริง ทำจริง เพื่อคนไทยทุกคน ทั้งในและต่างประเทศ